ชอบพูดแทรก อาการเสี่ยง ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ วิธีรักษา.
บางคนไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าตัวเองมีพฤติกรรม "ชอบพูดแทรก"คู่สนทนา ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดีนักในวงสนทนาที่อาจหมดสนุกได้ ซึ่งรู้หรือไม่นั้นคือหนึ่งในสัญญาณ “โรคสมาธิสั้น”ที่ต้องปรับแก้ด้วยพฤติกรรม
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
รู้หรือไม่? การพูดแทรกเป็นหนึ่งใน อาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ พบได้ถึง 4-5 % ในวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักไม่รู้ตัวและไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จนถึงไม่สามารถวางแผนระบบระเบียบในชีวิตได้
โรคสมาธิสั้นเกิดจากสารโดพามีนในสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งโรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและจะสืบต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่มีอาการมาตั้งแต่เด็ก
แต่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ อาการของโรคจะถือว่าค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถใช้ชีวิตได้ปกติตามวัยทว่าก็อาจจะมีอาการของโรคสมาธิสั้นหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง
เช่น ขี้หงุดหงิด เครียดง่าย ขี้โมโห หรือมีเรื่องกับญาติพี่น้องและเพื่อนร่วมงานบ่อย ๆ ทำให้ต้องเปลี่ยนงานอยู่เรื่อย รวมทั้งอาจมีนิสัยชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่เคสนี้มักจะสามารถควบคุมตนเองได้พอสมควร หรืออาจมีความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญาดีด้วยในบางคน
ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องมาตั้งแต่เด็ก
หรืออาจได้รับความกดดันจากผู้ใกล้ชิด ทำให้มีพัฒนาการที่ช้าลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นผู้มีอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ต้องประคับประคองอาการผิดปกติเหล่านี้ด้วยยาเป็นประจำ แต่ก็ยังอยู่ในขอบข่ายที่ใช้ชีวิตในสังคมได้ เพียงแต่ควรต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรค
เคสนี้ในวัยเด็กจะดูปกติและฉลาดสมวัย ทำให้ไม่มีใครฉุกคิดว่าพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว อันธพาล ชอบความรุนแรง และไม่คิดก่อนทำของผู้ป่วยเป็นอาการของโรค
แต่เข้าใจไปว่าเป็นแค่เพียงลักษณะนิสัยปกติเท่านั้น จนในที่สุดก็ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง และอาจเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาชีวิต มีปัญหาการเข้าสังคม และไม่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน
5 อาการโรคสมาธิสั้นที่พบบ่อยในวัยทำงาน
- เหม่อลอยเวลาทำงาน วอกแวก ฟังอะไรจับใจความไม่ค่อยได้
- ขี้หลง ขี้ลืม และมีปัญหาในการจัดระเบียบตนเอง เช่น ห้องรก หาอะไรไม่เคยเจอ
- ชอบพูกแทรกคู่สนทนาอยู่เสมอ หุนหันพลันแล่น
- เบื่อง่าย มีความรู้สึกอึดอันเมื่อต้องประชุมนานๆ
- มีปัญหาด้านอารมณ์ เครียด หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ
วิธีรักษา
การรักษาที่ดีที่สุดคือการปรับพฤติกรรม ซึ่งต้องทำอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าสามารถควบคุมตนเองให้ทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ ลุล่วง เช่น การจดรายละเอียดของงานต่างๆ ด้วยการติดป้ายหรือโน๊ตเล็กๆเพื่อเตือนความจำอยู่เสมอ
นอกจากนี้การเรียนรู้ทักษะการฝึกอารมณ์ให้มีความอดทนรอคอยให้ได้ระยะนานขึ้นเรื่อยๆเช่น เมื่อรู้ว่าตนเองกำลังหงุดหงิดให้เดินออกไปสงบสติอารมณ์สักพัก แทนที่จะแสดงอารมณ์ออกมาโต่งๆ ปรับวันละนิดโดยไม่รีบร้อน ถ้าเรามีวินัยและหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์อยู่เสมอ