เต่าเหลือง, เต่าเพ็ก,เต่าเทียน ชอบกินอะไร ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ ดูยังไง.

เนื้อหาข้อมูล"เต่าเหลือง"

เต่าเหลือง คืออะไร

เต่าเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Indotestudo elongata (Blyth, 1853) เป็นเต่าในกลุ่มเต่าบกกระดองแข็ง (tortoises) อยู่ในอันดับ Testudines วงศ์ Testudinidae (เป็นเต่าในกลุ่มเดียวกับ เต่าหก และเต่าเดือย)

ซึ่งยังมีชื่ออื่นที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเรียกกันว่า เต่าเพ็ก พบชุกชุมที่ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น (ที่มาของชื่อ "เต่าเพ็ก" เรียกชื่อตามอาหารที่เต่าชอบกิน คือหญ้าเพ็ก ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ)

ส่วนทางภาคเหนือและภาคใต้ จะเรียกกันว่า เต่าเหลือง เต่าขี้ผึ้ง หรือ เต่าเทียน และมีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Elongated tortoise, Yellow-headed tortoise, Yellow tortoise, Pek tortoise

เต่าเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ (Indotestudo elongata) กินอะไรเป็นอาหาร? ลักษณะ อุปนิสัย

เต่าเหลือง(ตัวผู้) ที่ อช.ดอยภูนาง พะเยา; ภาพโดย Flora Ihlow.

ลักษณะของเต่าเหลือง

หัว (head) ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ทู่มน ปกคลุมด้วยแผ่นหนังสีเหลืองนวล หัว ประกอบด้วย ตา (eye) มีนัยน์ตากลมสีดำ มีหนังตาหุ้ม หู (ear) อยู่ด้านหลังของตาเหนือมุมปากเล็กน้อย จมูก (nostril) อยู่หน้าสุดของหัว มีรูจมูก 2 รู ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร

ปาก (mouth) อยู่ ส่วนล่างของหัว ริมฝีปากบนยาวกว่าริมฝีปากล่างเล็กน้อย ปากกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ฟัน (teeth) แบบ cardiform ลักษณะเป็นแผ่นคม ขอบหยักคล้ายฟันเลื่อย อยู่บริเวณขอบปากด้านบนและด้านล่าง คอ (neck) มีผิวหนังสีเหลือง ย่นพับรวมกันเป็นชั้น คอยืดหดเข้ากระดองและหันไปซ้ายหรือขวาได้

ขา (leg) และ เท้า (foot) เต่าเหลืองมีขาและเท้า 4 ข้าง ขาหน้ายาวลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอก เท้าหน้าสีเหลืองหรือขาว เท้าหน้ามี 5 เล็บ ยาวและคม ขาหลังค่อนข้างยาว ลักษณะกลมคล้าย ขาช้าง พื้นเท้าหลังแบนมีเล็บ 4 เล็บ เล็บสั้นกว่าเท้าหน้า ขาทั้ง 4 ข้างมีสีเทาดำปกคลุมด้วยเกล็ดสีเหลืองแข็งและหนา 

 เต่าเหลืองเคลื่อนไหวช้า เมื่อก้าวเดินสามารถยืดขาออกมาจนสุด ซึ่งลักษณะเด่นของ พื้นเท้าที่แบนและขาที่มีลักษณะกลม แข็งแรง เล็บเท้ายาวและคมช่วยให้เต่าเหลืองปีนขึ้นที่สูงได้ดี แต่ไม่ สามารถว่ายน้ำได้ เป็นเหตุให้มักพบเต่าเหลืองตายเมื่อตกบ่อน้ำลึก และเมื่อถูกจับหรือตกใจจะหดหัวและขา ทั้ง 4 ข้างใต้กระดองจนมิด

หาง (tail) ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนปลายแหลม ประกอบด้วยช่องทวารหรือช่องขับถ่าย (cloaca) และช่องเพศเป็นช่องเดียวกัน

ลักษณะภายนอกที่เด่นชัดแตกต่างจากเต่าชนิดอื่น คือ กระดองหลัง และกระดองท้องมีสี เหลืองนวลสลับด้วยสีดำขนาดต่างๆ ปกคลุมด้วยแผ่นเกล็ดกระดองหลัง และแผ่นเกล็ดกระดองท้องมองเห็น ชัดเจน แผ่นเกล็ดเหนือ โคนหางใหญ่ และงุ้มเข้าหาลำตัว ทำให้กระดองหลังมีลักษณะโค้งนูน สูง มีความชัน มองดูคล้ายหมวกทหาร

กระดองหลัง (carapace) มีสีเหลืองนวลสลับด้วยสีดำขนาดต่างๆ กระดองแข็ง และหนา ความยาวกระดองหลัง 21.3-32.0 เซนติเมตร กระดองหลังปกคลุมด้วยแผ่นเกล็ด (horny shield หรือ scute) ซึ่งประกอบด้วยแผ่นเกล็ดสันหลัง (neural shield) 4 ชิ้น แผ่นเกล็ดชายโครง (costal shield) ข้างละ 4 ชิ้น แผ่น เกล็ดรอบกระดอง (marginal shield) ข้างละ 11 ชิ้น แผ่นเกล็ดเหนือต้นคอ (nuchal shield) 1 ชิ้น และแผ่น เกล็ดเหนือ โคนหาง (supracaudal shield) 1 ชิ้น

กระดองท้อง (plastron) มีสีเหลืองนวลสลับด้วยสีดำขนาดต่างๆ ความยาวกระดองท้อง 17.1-24.7 เซนติเมตร ปกคลุมด้วยแผ่นเกล็ดกระดองท้อง เรียงชิดกัน 2 แถวเป็นคู่ๆ แถวละ 6 แผ่น

ประกอบด้วยแผ่นเกล็ดใต้คอ (gular shield) 1 คู่ แผ่นเกล็ดใต้โคนขาหน้า (humeral shield) 1 คู่ แผ่นเกล็ดอก (pectoral shield) 1 คู่ แผ่นเกล็ดท้อง (abdominal shield) 1 คู่ แผ่นเกล็ดโคนขาหลัง (femoral shield) 1 คู่ แผ่นเกล็ดก้น (anal shield) 1 คู่ แผ่นเกล็ดรักแร้ (inguinal shield) 1 คู่ และแผ่นเกล็ดขาหนีบ (axillary shield) 1 คู่

เขตแพร่กระจาย

เต่าเหลืองมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่เนปาล บังคลาเทศ ถึงอัสสัม อินเดียตะวันออก ไปถึงพม่า ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลงไปจนถึงเมืองปีนังในมาเลเซีย

ถิ่นอาศัยของเต่าเหลือง

แหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าเหลือง มักจะพบอาศัยในบริเวณต้นน้ำ ลำธาร ลำห้วย ที่มีป่าทึบสลับกับป่าโปร่ง มีโพรงถ้ำและหน้าผา ส่วนเขตพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่ม ท้องนา ป่าชายเลนและบริเวณพื้นที่ใกล้ทะเล จะไม่พบเต่าเหลืองอาศัยอยู่ โดยทั่วไปพบเต่าเหลืองในช่วงต้นฤดูฝน เป็นช่วงที่เต่าเหลืองออกหาคู่ และผสมพันธุ์ ลักษณะการอยู่อาศัย เป็นแบบเดี่ยวๆ พบครั้งละ 1-2 ตัว กระจายตัวแบบกว้างๆ ไม่พบทีละหลายตัวในแห่งเดียวกัน

เต่าเหลือง กินอะไรเป็นอาหาร

เต่าเหลือง ออกหาอาหารในช่วงบ่ายหรือเย็น ตามบริเวณที่มีพืชใบอ่อนและลูกไม้ป่า อาหารเต่าเหลือง เช่น ผลมะเดื่อ บุก บอนส้ม ผลพญายอป่า เห็ดโคน หน่อเพ็ก และผลไม้สุกร่วงหล่นบนพื้นป่า ชอบซุกตัวหลบใต้กิ่งไม้ ใบไม้แห้งในตอนกลางวัน

อาหารเต่าบก

อาหารเต่าบก Pro-Reptiles

  • สำหรับเต่ากินจุ สูตร Original
  • ผลิตจากโรงงานอาหารสัตว์ มีประสบการณ์กว่า 25ปี
  • ไฟเบอร์สูง กลิ่นหอม
  • กินง่าย โตไว คุ้มค่าต่อราคา
  • อาหารเต่าบกที่ช่วยลดปัญหาเต่ากระดองปูด
  • ใช้งานง่าย แช่น้ำ 1 นาที ประหยัดเวลาคนเลี้ยง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

เต่าเหลืองเพศผู้-เมีย ดูยังไง

ความแตกต่างระหว่างเต่าเหลืองเพศผู้กับเพศเมีย เราสามารถแยกเพศเต่าเหลืองจากลักษณะภายนอกได้ โดยเต่าเหลืองเพศผู้มีแผ่นเกล็ดกระดองท้องเว้า และลึก โคนหางแคบ หางยาว และ แหลม

ตำแหน่งของรูทวารอยู่ค่อนมาทางปลายหาง แผ่นเกล็ดกระดองท้องที่เว้า และลึก ช่วยให้สะดวกในการปืนและพยุงตัวอยู่บนกระดองหลังเพศเมียขณะผสมพันธุ์ ส่วนเต่าเหลืองเพศเมียมีแผ่นเกล็ดกระดอง ท้องแบนเรียบ โคนหางกว้าง หางสั้น ตำแหน่งของรูทวารอยู่ค่อนมาทางโคนหาง

ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังบริเวณปลายจมูกของเต่าเหลืองเพศผู้มีสีชมพูชัดเจน และแผ่นเกล็ดรอบกระดองจะเปลี่ยนจากสีเหลือง เป็นสีเหลืองเข้มขึ้นหรือสีส้ม เพื่อดึงดูดเต่าเหลืองเพศเมีย

สถานภาพของเต่าเหลือง

ปัจจุบันเต่าเหลืองนับเป็นสัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองลำดับที่ 89 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของประเทศไทย ห้ามมิให้ผู้ใดครอบครองซึ่งสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์ป่าสงวน เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์และต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี

นอกจากนี้เต่าเหลืองยังอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือ CITES บัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ลำดับที่ 211

ซึ่งมีความหมายสำคัญ คือ เต่าเหลืองเป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องมีหนังสืออนุญาต และรับรองว่าการส่งออกเต่าเหลืองแต่ละครั้ง จะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของเต่าเหลืองในธรรมชาติ

ที่มา : เสาวคนธ์ รุ่งเรือง, พนิดา แก้วฤทธิ์. (2551). ชีววิทยาบางประการและการเพาะพันธุ์เต่าเหลือง เอกสารวิชาการฉบับที่ 88/2008. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

แมวดาว' ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อภาษาอังกฤษ ลักษณะ กินอะไร ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานภาพ.

นกเอี้ยงหงอน ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ? (นกเอี้ยงเลี้ยงควาย, นกเอี้ยงดำ) กินอะไร.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

ปลากัดป่าไทย ปลากัดป่าแท้' ในธรรมชาติ พันธุ์พื้นเมืองของไทย' มีกี่ชนิด? อะไรบ้าง.