นกโพระดกหูเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ นิสัย ถิ่นอาศัย สถานภาพ.
นกโพระดกหูเขียว คืออะไร
นกโพระดกหูเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Megalaima faiostricta (Temminck, 1831) ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Green-eared Barbet
ลักษณะนกโพระดกหูเขียว
นกโพระดกหูเขียว ลำตัวยาว 24 ซม. เป็นนกที่มีลำตัวอ้วน ป้อม หัวโต คอใหญ่และสั้น ปากหนาที่โคน ปากกว้างและมีขนที่มุมปาก ลำตัวสีเขียว ลักษณะและสีลำตัวคล้ายคลึงกับนกโพระดก ธรรมดามาก ต่างกันที่นกโพระดกหูเขียวจะมีขนบริเวณหูเป็นสีเขียว คอด้านข้างมีจุดเล็ก ๆ สีแดง
เขตแพร่กระจาย
นกโพระดกหูเขียว พบในประเทศจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ ไทย และอินโดจีน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
นกโพระดกหูเขียว พบอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ จากระดับพื้นราบจนถึงระดับความสูง 1,015 ม. ในป่าสะแกราชพบได้ทั้งในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าปลูก
อุปนิสัย
มักพบนกโพระดกหูเขียว อยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ อาจพบเป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ที่ผลกำลังสุก กินผลไม้เป็น อาหารโดยเฉพาะไทร หว้า ตะขบ นอกจากนั้นยังกินกลีบและน้ำหวานดอกไม้ แมลง และ สัตว์ขนาดเล็ก
หลังจากกินอาหารจนอิ่มแล้ว มักบินไปเกาะยอดไม้เด่น ๆ เพื่อผึ่งแดด แล้ว ตั้งต้นส่งเสียงร้อง “เปอ-รู-รูรุก” ซ้ำ ๆ กันอย่างรวดเร็วเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
ผสมพันธุ์
นกโพระดกหูเขียว ผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม สร้างรังอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ไข่มีสีขาวรูปรียาว ระยะฟักไข่ประมาณ 13-15 วัน
สถานภาพ
นกโพระดกหูเขียว เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมากที่ป่าสะแกราช กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง