ปรงป่า,ปรงนา,ปรงเหลี่ยม' ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ ประโยชน์ กระจายพันธุ์ สถานภาพ

เนื้อหาข้อมูล "ปรงป่า"

ปรงป่า คืออะไร

ปรงป่า เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อไทยเป็นชื่อทางการว่า "ปรงเหลี่ยม" (อ้างอิงตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ยังมีชื่ออื่นที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น กุ้นผง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); โกโล่โคดึ, ตาซูจือดึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ตาลปัตรฤๅษี (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ปรงป่า, ปรงนา (ภาคกลาง); ปรงเหลี่ยม (ตราด); ผักกูดบก (ภาคเหนือ) และมีชื่อสามัญ (common name) ภาษาอังกฤษ ว่า Thai sago

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปรงป่า

ปรงป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cycas siamensis Miq. อยู่ในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae

ปรงเหลี่ยม Thai sago ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas siamensis

ต้นปรงเหลี่ยมในธรรมชาติที่กาญจนบุรี; ภาพโดย Yvonne Dalziel.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ปรงป่า มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-2 ม. ลำต้นคล้ายต้นปาล์ม มีเกล็ดหุ้มยอด โคนลำต้นกลวง เปลือกต้นมีตุ่มเกล็ดสีน้ำตาล หรือแตกเป็นร่อง ตามยาว ใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียน หนาแน่นช่วงปลายลำต้น ยาว 0.6-1.2 ม. ก้านใบยาว 10-30 ซม. มีหนาม มี ใบย่อย 70-100 คู่ เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม สีเขียวเข้มจนถึงสีเทา รูปแถบ ปลายแหลมเป็นหนาม แผ่นใบหนา ใบอ่อน มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ไม่มีเส้นใบย่อย ใบย่อยช่วงล่างลดรูปเป็นหนาม

โคนแยกเพศต่างต้น โคนเพศผู้เกิดที่ยอด รูปขอบ ขนาน กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-20 ซม. มีกลิ่นเหม็นฉุน โคนเพศเมียเกิดใต้ใบและแผ่เรียงเป็นกลุ่มคล้ายกระจุกแบบ กุหลาบซ้อน กว้าง 12-20 ซม. ขอบจักลึกคล้ายหนาม มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุมแน่น ตอนล่างมีไข่อ่อนติดอยู่ ผล (ไม่มีผลหุ้มเมล็ด) เมล็ดรูปกลมรี ขนาด 3-3.7 ซม. มีออวุล 2 เม็ด เมื่อแก่มีสีเหลืองอมส้ม ผนังด้านในมีชั้นใย

ออกโคนช่วงเดือนไหน?

ปรงป่า ออกโคนช่วงเดือน ก.พ.-พ.ย.

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา

การกระจายพันธุ์ของปรงป่า พบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และเขาหินปูน ความสูง 100-400 ม.

การใช้ประโยชน์และสรรพคุณ

  • ราก: มีปมเป็นกิ่งแผ่ฝอย ช่วยจับไนโตรเจนในดินได้ดี
  • เมล็ด: มีแป้งใช้รับประทานได้
  • ทั้งต้น: ปลูกเป็นไม้ประดับ

สถานภาพของปรงป่า

ปรงป่า เป็นพรรณไม้ที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ คือ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable)

การค้นหาเพิ่มเติม ↓
ต้นปรง ปรงป่าหัวใหญ่ ๆ ราคาถูกมาก »

ที่มา : สุนันทา วิสิทธิพานิช, พงษ์ศักดิ์ พลเสมา, มานพ ผู้พัฒน์, สันติ สาระพล. (2564). พรรณไม้ป่าผลัดใบห้วยขาแข้ง. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.