ปลาตะเพียนข้างลาย (ตะเพียนลาย) กินอะไรเป็นอาหาร วิธีเลี้ยง ชื่อวิทยาศาสตร์.
เนื้อหาข้อมูล ปลาตะเพียนข้างลาย
- ปลาตะเพียนข้างลาย คืออะไร?
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
- กินอะไรเป็นอาหาร
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- ลักษณะทั่วไป
- การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย
ปลาตะเพียนข้างลาย คืออะไร?
ปลาตะเพียนข้างลาย คือสัตว์จำพวกปลาในกลุ่มปลาน้ำจืดไทยชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไทยที่มีลักษณะสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดของไทย
ปลาตะเพียนข้างลาย เป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกปลากระดูกแข็ง (Bony fish) ในชั้นปลาที่มีก้านครีบ (ray-finned fish) ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัย หายใจด้วยเหงือก ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้มปิดเหงือก มีลักษณะโครงกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน มีครีบและหาง ซึ่งใช้ในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในน้ำ
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
ปลาสวยงามน้ำจืดไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ปลาตะเพียนข้างลาย' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ปลาตะเพียนลาย, ปลาตะเพียนม้าลาย เป็นต้น.
วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
วิธีเลี้ยงปลาตะเพียนข้างลายในตู้ปลา สามารถเลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กในตู้พรรณไม้น้ำ เป็นปลาป่าพรุที่เลี้ยงไม่ยาก ปรับตัวง่าย เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้หลายชนิด สามารถเลี้ยงจนมีไข่ในตู้ปลาขนาดเล็ก
กินอะไรเป็นอาหาร
อาหารของปลาตะเพียนข้างลาย ในธรรมชาติจะกินแพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำเป็นอาหาร แต่ในที่เลี้ยงในตู้ปลา สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ปลาตะเพียนข้างลาย ภาษาอังกฤษ ว่า Striped barb, Stripped barb, Melon barb, Zebra barb.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ปลาตะเพียนข้างลาย ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Desmopuntius johorensis (Duncker, 1904) เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Desmopuntius โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับปลาตะเพียน (Cypriniformes)
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Barbus fasciatus Bleeker, 1853
- Puntius fasciatus (Bleeker, 1853)
- Systomus johorensis (Duncker, 1904)
- Puntius johorensis (Duncker, 1904)
- Barbus tetrazona johorensis Duncker, 1904
- Puntius eugrammus Silas, 1956
- Barbus eugrammus (Silas, 1956)
- Puntius pentazona chiniensis Yoong, 1973
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Actinopterygii
- อันดับ (Order) : Cypriniformes
- วงศ์ (Family) : Cyprinidae
- สกุล (Genus) : Desmopuntius
- ชนิด (Species) : Desmopuntius johorensis
ลักษณะทั่วไป
ปลาตะเพียนข้างลาย มีลักษณะ เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดใหญ่สุดพบความยาวประมาณ 10 ซม. มีรูปร่างแบบปลาตะเพียนแต่ลำตัวเรียวแบบกระสวย ส่วนหัวและจะงอยปากค่อนข้างเรียว ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่ ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือเหลืองเข้ม ข้างแก้มและด้านท้องสีจาง เกล็ดมีสีเงินเหลือบ มีแถบสีดำตามแนวยาวของลำตัว 5-6 แถบ ตั้งแต่ด้านหลังจนถึงด้านท้อง แถบใหญ่สุดอยู่ที่กลางลำตัว ตามแนวเส้นข้างตัวไปถึงโคนครีบหาง ในปลาตัวเล็กมีบั้งตามแนวขวางลำตัว 4 บั้ง บนพื้นสีเหลืองอ่อน เมื่อเริ่มโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นแถบตามแนวยาว
การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย
การแพร่กระจายและถิ่นอาศัยของปลาตะเพียนข้างลาย พบอยู่เป็นฝูงในลำคลองและแอ่งน้ำของพรุดั้งเดิม
ที่มา : อรุณี รอดลอย. (2564). 95 ชนิด ปลาสวยงามน้ำจืดไทย 95 ปี กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.