นกปรอดทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ อุปนิสัย กินอะไร อาหาร ถิ่นอาศัย.
เนื้อหาข้อมูล นกปรอดทอง
- นกปรอดทอง คืออะไร?
- อุปนิสัยและถิ่นอาศัย
- กินอะไรเป็นอาหาร
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- ความหมายของชื่อและการค้นพบ
- อนุกรมวิธาน
- ลักษณะทั่วไป
- การสืบพันธุ์
- การแพร่กระจาย
- สถานภาพ
นกปรอดทอง คืออะไร?
นกปรอดทอง คือสัตว์ปีกจำพวกนกชนิดหนึ่งในกลุ่มนกประจำถิ่น ซึ่งดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทย มีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย
นกปรอดทองเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกสัตว์จำพวกนก ซึ่งสัตว์จำพวกนี้เป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจโดยใช้ปอด มีจะงอยปากแข็ง ฟันลดรูป กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีปีก 1 คู่ มีขา 1 คู่ มีรูปร่างเพรียวปกคลุมด้วยขน มีขนเป็นแผง มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ทำรังวางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม
อุปนิสัยและถิ่นอาศัย
นกปรอดทอง; photo by Gary Kinard.
นกปรอดทอง เป็นนกที่พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบ แล้ง ชายป่า และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบ จนกระทั่งความสูง 1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบ เป็นคู่ เป็นฝูงทั้งฝูงเล็กๆ และฝูงใหญ่ อาศัยและหากินทั้งบนต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้พื้น ล่างของป่าต่างๆ พบเป็นประจำที่บินจากต้นไม้หนึ่งไปยังอีกต้นไม้หนึ่ง หรือกระโดดจากกิ่ง ไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่ง
กินอะไรเป็นอาหาร
อาหารของนกปรอดทอง อาหารได้แก่ผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนต่างๆ เช่น ไทร หว้า ตะขบ ผลไม้เถาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งนกจะใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล นอกจากนี้ก็ยังกินแมลงและตัวหนอนต่างๆ โดยการจิกกินตามกิ่งก้านและยอดไม้ หรือพืช ต่างๆ บ่อยครั้งที่โฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ในระยะที่ไม่ไกลจากที่เกาะมากนัก
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ นกปรอดทอง ภาษาอังกฤษ ว่า Black-headed Bulbul.
ชื่อวิทยาศาสตร์
นกปรอดทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pycnonotus atriceps (Temminck, 1822) เป็นสัตว์ปีกในสกุล Pycnonotus โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของนกในอันดับนกจับคอน (Passeriformes)
ความหมายของชื่อ และ การค้นพบ
ชื่อชนิด เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ atr,-i หรือ ater แปลว่าสีดำและ =ceps แปลว่าหัว ความหมายก็คือ "นกที่มีหัวเป็นสีดำ" เป็นชนิดที่พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
ทั่วโลกมีนกปรอดทอง 5 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบชนิดย่อยเดียวคือ Pycnonotus atriceps atriceps (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Aves
- อันดับ (Order) : Passeriformes
- วงศ์ (Family) : Pycnonotidae
- สกุล (Genus) : Pycnonotus
- ชนิด (Species) : Pycnonotus atriceps
ลักษณะทั่วไป
นกปรอดทอง มีลักษณะ เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (18 ซม.) หัวและคอหอยสีดำ ไม่มีหงอนขน บนหัว ตาสีน้ำเงิน ด้านบนลำตัวสีเขียวแกมทอง ปลายหางสีเหลือง โดยมีลายแถบสีดำก่อน จะถึงปลายหาง ด้านล่างลำตัวสีเหลือง และบางตัวซึ่งค่อนข้างหายากจะเป็นสีเทา
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์ของนกปรอดทอง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม รังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ต้นหญ้า และใบหญ้า รองรังด้วย ใบไม้ และใบหญ้าอีกชั้นหนึ่งเพื่อรองรับไข่ วางรังตามง่ามของต้นไม้ ไม้พุ่ม และลูกไม้ต่างๆ
ในแต่ละรังมีไข่ 2 หรือ 3 ฟอง ไข่สีชมพูอ่อน มีลายแต้มสีม่วง ลายขีดสีน้ำตาลแกมแดงรอบ ไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 15.9 x 21.1 มม. ทั้ง 2 เพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดู ลูกอ่อน ซึ่งเมื่อออกจากไข่มาใหม่ๆ ยังไม่มีขนคลุมร่างกายยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้
การแพร่กระจาย
การแพร่กระจายของนกปรอดทอง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย บังคลาเทศ เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบทั่วไป
สถานภาพ
นกปรอดทอง มีสถานภาพตามฤดูกาล (Seasonal status) เป็น นกประจำถิ่นของไทย พบได้บ่อยและปริมาณปาน กลาง โดยพบทั่วทุกภาคของประเทศ มีสถานภาพทางกฎหมาย (Legal status) เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง และมีสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least concern)
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.