Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

นมสำหรับคนท้องอ่อน ดื่มกินนมยี่ห้อไหนดี อาการของคนท้องอ่อน วิธีดูแลตัวเองยังไง.

เนื้อหาข้อมูล"นมสำหรับคนท้องอ่อน"

คนท้องอ่อน คุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ หลายคนก็คงมีคำถาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไร วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆต้องทำยังไง? การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์แบบไหนดี เรียนรู้พัฒนาการเบบี๋ของเรา 280 วันที่เด็กน้อยอยู่ในท้องของเรา เป็นยังไงบ้างน๊า?

คนท้องอ่อน ดื่มนมอะไรดี

การดูแลสุขภาพ 280 วันแห่งความรักจากแม่สู่ลูก พื้นฐานของสมองและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ของลูก คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องการ เพื่อต่อยอดไปสู่พัฒนาการด้านสติปัญญา ตลอดจนพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และด้านอื่นอย่างรอบด้านต่อไป ซึ่งควรสร้างให้เกิดขึ้นทันทีตั้งแต่ในครรภ์ เพราะมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าสมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 85% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ปีแรก

การตั้งครรภ์ของคุณแม่ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ คือ เวลาเฉลี่ยของการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาดีๆ นี้เองที่คุณแม่สามารถมอบพลังวิเศษให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง พลังนั้นประกอบไปด้วยการคิดดี โภชนาการที่ดี เอาใจใส่อย่างดี อารมณ์ดี และเลือกทำแต่สิ่งดีๆ สิ่งเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานดีๆ ไหลผ่านรกเข้าสู่ร่างกาย สมองและจิตใจของลูกในท้อง

นมสำหรับคนท้องอ่อน คุณแม่ตั้งครรภ์ ดื่มกินนมยี่ห้อไหนดี

นมสำหรับคนท้อง คุณแม่ตั้งครรภ์

  • มีแกงกลิโอไซด์ (GA) 3.7 มก./กล่อง สูตรเดิมมี GA 1.4 มก./กล่อง
  • โฟเลทสูง
  • แคลเซียมสูง
  • มีไฟเบอร์ 0.85 กรัม/กล่อง
  • มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
  • มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • หญิงตั้งครรภ์ ในเดือนแรกจำเป็นต้องได้รับโฟเลทเพื่อช่วยในการสร้างหลอดประสาทและสมองที่สมบูรณ์ของทารกและสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ โอเมก้า 3,6,9 วิตามินบี 12 วิตามินดี ธาตุเหล็ก วิตามินเอ ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

เพราะทุกช่วงเวลาของการเป็นแม่นั้น ‘มหัศจรรย์’ หัวใจเต้นตึกตัก รัวราวกับกลองชุด และยิ้มแก้มปริ น้ำตาไหลด้วยความดีใจ เมื่อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ปรากฏให้เห็นแถบสีแดงขึ้นสองขีด เวลานั้นจากผู้หญิงธรรมดา ก็ได้กลายเป็น ‘แม่’ ตั้งแต่วินาทีแรกที่รู้ว่า ‘ตั้งครรภ์’ และตั้งใจมั่นที่จะดูแลตัวเอง เพื่อลูกน้อยในท้องให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตมาเป็นเด็กสุขภาพแข็งแรง สมองดี จิตใจดี อารมณ์แจ่มใส และเป็นคนเป็นที่รักของผู้คน

แต่เราเข้าใจว่า คำว่า ‘ดีที่สุด’ นั้น ส่งผลให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อาจเกิดความวิตกกังวล ไหนจะร่างกาย และอารมณ์ของตัวเองที่เปลี่ยนไป ไหนจะเรื่องของลูกน้อยในท้อง ทั้งหมดคือ สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องเผชิญตลอด 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เส้นทางของคนเป็นแม่ยังอีกยาวไกล แต่เชื่อเถอะว่า ‘ครั้งแรก’ ที่เกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูกน้อยในท้องนั้น คือ สิ่งมหัศจรรย์ที่สุด ที่มีเพียงแม่ท้องเท่านั้นที่จะรู้และสัมผัสได้ด้วยตัวเอง

รักแรกของแม่ รักของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นความรักที่เต็มไปด้วยความสุขและความกังวล รักก็รัก ห่วงก็ห่วง อีกใจก็กังวล ไหนจะร่างกายที่เปลี่ยน ไหนจะพัฒนาการของลูกในท้องอีก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น ‘ภาวะปกติ’ ที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอ แล้วก็จะผ่านไป กลับไปเป็นแม่สวยสดใสเหมือนเดิมหลังคลอด

ร่างกายแม่ท้อง อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้างนะ?

อาการ น้ำหนักลดและเพิ่ม แม่บางคนน้ำหนักจะลดลงในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เพราะเกิดอาการแพ้ท้อง แต่หลังจากอาการแพ้ท้องหายไป น้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นแตกต่างกัน เช่น 12.5-18 กิโลกรัม

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ผอม 11.5-16 กิโลกรัม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวในเกณฑ์ปกติ 7-11.5 กิโลกรัม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักเกิน และ 5-9 กิโลกรัมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อ้วน ซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นไปนั้น อาจจะลดลงในช่วงแรกหลังคลอดประมาณ 5 กิโลกรัม และอาจจะลดลงอีกประมาณ 5-10 กิโลกรัม ในช่วงให้นมลูก

นมสำหรับคนท้องอ่อน กินนมอะไรดี

อาการท้องผูก ผายลมบ่อย และเรอบ่อย ยิ่งอายุครรภ์มากเท่าไหร่ ยิ่งท้องผูก ผายลมและเรอบ่อยมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมดลูกขยายตัวเพิ่มมากขึ้น รองรับลูกที่เติบโตทุกวัน จนทำให้ไปเบียดอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง โดยเฉพาะกระเพาะอาหาร ส่งผลให้คุณแม่ท้องต้องพบกับ 3 อาการชวนเขินอายคนข้างๆ

อาการ ใต้ท้องแขน ต้นขา และท้องแตกลาย เกิดจากผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ขยายอย่างรวดเร็ว ผู้ช่วยในเวลานี้ก็คือ การชโลมน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นหลังอาบน้ำเป็นประจำเช้าเย็น ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นขึ้น

อาการ ลานนม รักแร้ คอ และขาหนีบคล้ำขึ้น เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ บวกกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น แต่รับรองว่ารอยคล้ำจะค่อยๆ จางลงหลังคลอดอย่างแน่นอน

อาการ มือและเท้าบวม เป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ร่างกายกักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อ ทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเคมีในกระแสเลือดที่เปลี่ยนไปจึงทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวในปริมาณที่มากขึ้น แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นหลังคลอด

อาการ หน้าอกและหัวนมขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีเนื้อเยื่อไขมันและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเต้านมเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต่อมและท่อน้ำนม โดยเฉลี่ยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมได้ถึง 1-2 ไซส์ และจะคงอยู่ไปจนถึงหลังการให้นมลูก

อาการอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ขึ้นง่าย ลงยาก เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวเศร้า เป็นเรื่องปกติเพราะฮอร์โมนแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลง

3 วิธีคลายกังวล ได้ผลแบบด่วนๆ

  • ฝึกโยก สำหรับแม่ท้อง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงยืดหยุ่น และความทนทานของกล้ามเนื้อที่จำเป็นสำหรับการคลอด ทั้งยังช่วยลดความเครียด คลายความกังวล ลดอาการปวดหลัง ปวดหัว คลื่นไส้ หายใจตื้นได้อีกด้วย
  • ฝึกหายใจ ทำจิตใจให้สงบและผ่อนคลาย ด้วยการหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ
  • ลูบหน้าท้องเบาๆ นอกจากจะช่วยให้แม่ผ่อนคลาย ลูกในท้องก็ยังรับรู้และผ่อนคลายตามไปด้วยได้
  • ช่วงแรกๆ คุณแม่อาจกังวล แต่ไม่นานความรู้สึกนี้จะค่อยๆ ลดลง แล้วความสุขที่ได้เป็น “แม่” จะเข้ามาแทนที่ค่ะ

นมสำหรับคนท้อง เลือกยังไงให้เหมาะกับแม่มือใหม่

คนท้องดื่มนมอะไรดี เลือกซื้อนมยังไงให้เหมาะกับแม่ท้อง เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่หลายคนสงสัย เพราะปัจจุบันมีนมให้เลือกดื่มหลายยี่ห้อ หลายแบบ มีคุณแม่หลายคนแพ้นมวัว ทำให้กังวลเกี่ยวกับการเลือกนมมากขึ้นไปอีก ก็ยิ่งต้องเลือกนมที่จะไม่ทำให้วิตกกังวล

การเลือกซื้อนม ถือเป็นอาหารที่เสริมแคลเซียมได้ดี สำหรับแม่ท้อง เพราะโดยปกติร่างกายคนเราจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม แต่ปริมาณแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม

ดังนั้นสารอาหารอย่าง “แคลเซียม” จึงเป็นที่สำคัญต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก วันนี้เรามาดูกันว่านมสำหรับคนท้อง แม่ท้องกินนมอะไรดี เลือกยังไงให้เหมาะกับแม่ท้อง นมที่เหมาะสำหรับบำรุงครรภ์ คนท้องดื่มนมอะไรดี นมสำหรับคนท้อง เลือกยังไงให้เหมาะกับแม่ท้อง!

คนท้องดื่มนมอะไรดี เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่หลายท่านกำลังสงสัย เพราะในสมัยนี้มีนมให้เลือกดื่มมากมายหลายชนิด อีกทั้งอาการแพ้นมวัวของคุณแม่หลายท่านก็ยิ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเลือกดื่มนมมากขึ้นไปอีก

ซึ่งจริง ๆ แล้ว นมที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ก็คือนมจืดธรรมดา หรือนมสดพาสเจอไรส์ชนิดพร่องมันเนย ทั้งนี้ทั้งนั้น สำหรับคุณแม่ที่แพ้นมวัว หรือไม่ชอบดื่มนมวัว ก็อาจจะเลือกดื่มนมชนิดอื่นได้ เช่น นมแพะที่ผ่านการฆ่าเชื้อ นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมข้าว หรือนมข้าวโอ๊ต เป็นต้น

นมสำหรับคนท้องอ่อน ดื่มกินนมยี่ห้อไหนดี

ทำไมแม่ท้องต้องดื่มนม เพราะในช่วงตั้งครรภ์นั้น เป็นช่วงที่ร่างกายของทั้งคุณแม่และลูกในท้องต้องการแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าปกติหลายเท่า เนื่องจากลูกจะดึงแคลเซียมในร่างกายของคุณแม่ไปสร้างเนื้อเยื่อ เส้นใยประสาท กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกระดูกและฟัน ซึ่งจะเริ่มสร้างตั้งแต่ลูกน้องในครรภ์อายุได้ 3 เดือน คุณแม่ท้องจึงจำเป็นต้องทานอาหารที่มี แคลเซียมสูงเพิ่มมากกว่าปกติ

นม นับว่าเป็นแหล่ง แคลเซียมอย่างหนึ่งที่คุณแม่สามารถรับประทานเพื่อเสริมสร้างแคลเซียมได้ และการเสริมสร้างแคลเซียมจะช่วยลดอาการเป็นตะคริวของคุณแม่ท้องที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และลดอาการปวดหลังที่จะค่อย ๆ ตามมาเรื่อย ๆ ดังนั้นนมจึงเป็นสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ และยังจะช่วยให้คุณแม่มีการเสริมสร้างวิตามินเพื่อให้ ร่างกายสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย

เคยสงสัยสัยว่าคุณแม่จำเป็นต้องดื่มนมมั้ย? จริงๆแล้วถ้าพูดถึงเสริมสร้างและการบำรุงร่างกาย นมก็ถือว่ามีประโยชน์ไม่น้อยเลย โดยส่วนใหญ่คุณเเม่จะเลือกดื่มนมเพราะต้องการเเคลเซียม (1,000-1,300 มิลลิกรัมต่อวัน) เเละเเร่ธาตุต่างๆ เป็นทางเลือกที่ง่ายกว่าการได้รับเเคลเซียมจากเเหล่งอื่น

สำหรับคุณเเม่ที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ เนื่องจากมีอาการเเพ้โปรตีนในนมวัว หรือดื่มเเล้วท้องเสีย ทางเลือกอื่นอย่างกินเเคลเซียมเสริมหรือกินอาหารอื่นๆ ที่มีเเคลเซียม ก็ทำให้คุณเเม่ได้รับเเคลเซียมอย่างเพียงพอเช่นกัน

เเต่รู้ไหมคะว่า คุณเเม่ที่ดื่มนมขณะตั้งครรภ์อย่างน้อย 150 มิลลิลิตรต่อวัน มีเปอร์เซ็นต์ที่ลูกจะสูงกว่าคุณเเม่ที่ไม่ได้ดื่มนมค่ะ (นอกเหนือจากเรื่องของพันธุกรรม) นมก็อาจจะสามารถเสริมสร้างความสูงให้กับลูกน้อยเราได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกอ่อนในทารก เเละลดความเสี่ยง ที่ลูกจะเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคตอีกด้วยนะคะ คนท้องดื่มนมอะไรดี

สำหรับคุณแม่ท้องที่ไม่มีปัญหาการแพ้นมวัว และต้องการทางเลือกสำหรับดื่มนมเพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมและแร่ธาตุสำหรับลูกในครรภ์ (โดยไม่ต้องดื่มนมสำหรับคนท้องเพียงอย่างเดียว) สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1. นมวัว (Milk) คนท้องดื่มนมวัวดีมั้ย? นมวัวมีกรดอะมิโน ช่วยในเรื่องของการสร้างเซลล์ในร่างกายของทั้งคุณแม่และคุณลูก นมวัวมีกรดอะมิโนที่ช่วยในการสร้างเซลล์ ในร่างกายของคุณเเม่เเละลูกน้อย วิตามินดี ที่มีอยู่ในนมวัวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ของคุณเเม่ท้อง เเละช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์

วิตามินอีจะช่วยต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น เสริมสร้างเนื้อเยื่อในร่างกายให้เเข็งเเรง เเละช่วยให้ระบบ ภูมิคุ้มกันเเข็งเเรงมากขึ้นด้วย คำแนะนำคือ ควรดื่มนมวัวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว และควรเป็นนมที่มีไขมันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่ได้รับแคลอรี่มากเกินไป หรือเป็นนมสดพาสเจอไรส์ชนิดพร่องมันเนยก็ได้เช่นกัน

นมที่มีไขมันต่ำ หรือ ขาดมันเนย

  • นมหนึ่งเเก้วมีปริมาณแคลเซียม 305 มิลลิกรัม เเละมีปริมาณ 83 เเคลอรี่
  • ในระหว่างตั้งครรภ์ควรดื่มนมวันละ 2-3 เเก้ว เพื่อให้ได้ปริมาณ แคลเซียมเพียงพอต่อความ ต้องการของร่างกาย

นมที่มีไขมัน 100%

  • จะมีปริมาณไขมันประมาณ 3.5% คิดเป็นไขมันอิ่มตัวประมาณ 5 กรัมต่อ 1 เเก้ว
  • นมหนึ่งแก้วมีปริมาณ 149 แคลอรี่

นมพาสเจอร์ไรส์

  • ศูนย์ควบคุมเเละป้องกันโรค หรือ CDC เเนะนำให้เเม่ท้องทุกคนหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือ พาสเจอร์ไรส์
  • นมที่ผ่าน การพาสเจอร์ไซส์ จะทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อเเบคทีเรียช้าลง
  • ไม่เเนะนำให้แม่ท้องดื่มนมดิบหรือ Raw Milk เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เเละอันตรายถึงชีวิตต่อลูกในครรภ์

2. นมแพะ (Goat Milk) คนท้องดื่มนมแพะดีมั้ย? แม้รสชาติและกลิ่นของนมแพะจะมีความเฉพาะตัวสูงมากจนทำให้แม่ท้องบางคนไม่ชอบ แต่ในนมแพะมีปริมาณโปรตีนสูง ไขมันเนยต่ำ และมีวิตามินบีสูงกว่านมวัวถึง 2 เท่า นมแพะจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี

นมแพะสำหรับคนท้อง

  • เเม้ว่านมเเพะจะมีกลิ่นเเละรสชาติเฉพาะตัว เเต่ในนมเเพะนั้นมีปริมาณ โปรตีนสูง ไขมันเนยต่ำ เเละมี วิตามินบีสองสูงกว่านมวัว
  • นมแพะช่วย ลดคอเลสเตอรอลเเละเร่ง กระบวนการเผาผลาญ ช่วยในการย่อยอาหาร
  • มีวิตามินเอ ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยตรง
  • มีปริมาณเเคลเซียมถึง 283 มิลลิกรัมต่อแก้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม

3. นมถั่วเหลือง (Soy Milk) คนท้องดื่มนมถั่วเหลืองดีมั้ย ในนมถั่วเหลืองมีโปรตีนมากกว่านมวัวเกือบหนึ่งเท่า ทั้งยังอุดมไปด้วยใยอาหารและแคลเซียม มีปริมาณไขมันไม่มากจนเกินไป หากแม่ท้องกลัวว่าการดื่มนมวัวปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ลูกแพ้นมวัวได้ จะลองเปลี่ยนมาดื่มนมถั่วเหลืองก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

  • มีโปรตีนเกือบเท่านมวัว
  • มี เส้นใยอาหาร เเละ แคลเซียมที่ร่างกายต่อการ
  • ปริมาณไขมัน ที่อิ่มตัวเเละไม่อิ่มตัวในนมถั่วเหลือง จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจเเละหลอดเลือด
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการต่อสู้กับ โรคมะเร็ง
  • นมถั่วเหลือง 1 เเก้วจะมีปริมาณแคลเซียม 300 มิลลิกรัม

4. นมอัลมอนด์ (Almond Milk) คนท้องดื่มนมอัลมอนด์ดีมั้ย? สำหรับแม่ท้องที่แพ้นมวัวและนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์คือทางออกที่ดีที่สุด เพราะนมอัลมอนด์ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล ทั้งยังมีกรดโฟลิก เส้นใยอาหาร โปรตีน และวิตามินต่าง ๆ มากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย แม้ราคาจะค่อนข้างสูง แต่สารอาหารในนมอัลมอนด์ก็สูงไม่แพ้กัน

  • สำหรับคุณเเม่ที่ เเพ้ถั่วเหลือง เเละ กลูเตน นมอัลมอนด์ คืออีกหนึ่งทางเลือก
  • ปราศจากไขมันอิ่มตัว เเละ คอเลสเตอรอล
  • มีกรดโฟลิก เส้นใยอาหาร โปรตีน วิตามินบีเเละอี ธาตุเหล็ก เเละ เเคลอรี่ต่ำ
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • มีปริมาณเเคลเซียม 7.5 มิลลิกรัมต่อเเก้ว สำหรับ นมอัลมอนด์เเบบไม่หวาน

5. นมข้าวโอ๊ต (Oat Milk) คนท้องดื่มนมข้าวโอ๊ตดีมั้ย? นมข้าวโอ๊ตมีเส้นใยสูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ได้ ทั้งยังช่วยให้อยู่ท้อง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ แมงกานีส โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส มีโปรตีนมากกว่านมอัลมอนด์

  • มีเส้นใยอาหารสูง ป้องกัน ท้องผูกระหว่าง การตั้งครรภ์ได้
  • ควบคุมความอยากอาหาร เเละ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • มีวิตามินเอเเละบี เเร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เเมงกานีส โพเเทสเซียม เเละ ฟอสฟอรัส
  • โปรตีนมากกว่า นมอัลมอนด์ เเละ นมข้าว เเต่น้อยกว่านมวัว
  • มีปริมาณเเคลเซียม 120 มิลลิกรัมต่อเเก้ว

6. นมข้าว (Rice Milk) คนท้องดื่มนมข้าวดีมั้ย? นมข้าวอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารมากมายเช่นกัน แต่สำหรับแม่ท้องที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยง เพราะนมข้าวมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงกว่านมวัวถึง 4 เท่า มีแคลเซียมสูง ไขมันต่ำ และให้โปรตีนต่ำ

  • คุณเเม่ ที่เป็นเบาหวานไม่ควรดื่มนมข้าว เนื่องจากมีปริมาณ คาร์โบไฮเดรตสูงกว่านมวัวถึง 4 เท่า
  • มี วิตามินบีสูง ไขมันต่ำ เเละ โปรตีนต่ำ เเต่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
  • เป็นเเหล่งเเคลเซียมที่หาได้ยาก
  • นมข้าวไม่ขัดสี มีปริมาณเเคลเซียม 20 มิลลิกรัมต่อเเก้ว

วิธีดื่มนมสำหรับคนท้อง ดื่มอย่างไร

  • เเม่ท้องควรดื่มนมวันละประมาณ 2 – 3 เเก้ว ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักเเละส่วนสูง ของคุณเเม่เเต่ละคนด้วย
  • นอกเหนือจาก การดื่มนมแล้ว ควรทานอาหารที่หลากหลาย ดูแล โภชนาการให้ครบ 5 หมู่ควบคู่กับ การดื่มนมไปด้วย
  • หาก สามารถดื่มนมได้ทุกชนิด ก็ควรจะบริโภคให้หลากหลายสลับกันไปได้

ความเป็นจริง หากแม่ท้องบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะคุณหมอจะจ่ายแคลเซียมเสริมให้แม่ท้องกลับมาทานที่บ้านอยู่แล้ว แต่แม่ท้องที่ต้องการเสริมแคลเซียม ควรพิจารณาประเภทของนมที่เหมาะกับร่างกาย

รวมไปถึงปริมาณสารอาหารของนมประเภทนั้น ๆ เพื่อให้ร่างกายของแม่ท้องได้รับประโยชน์ครบถ้วน ไม่มากและน้อยจนเกินไป และที่สำคัญควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอสูติ-นารีแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ เพื่อลูกน้อยจะได้แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีหลังคลอด

รายละเอียดเพิ่มเติม