นกแขกเต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ อุปนิสัย แหล่งอาศัย สถานภาพ?
นกแขกเต้า คืออะไร
นกแขกเต้า คือนกแก้วชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Psittacula alexandri (Linnaeus, 1758) มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Red-breasted Parakeet
ลักษณะนกแขกเต้า
ลำตัวยาว 36 ซม. หางยางเรียว สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเขียว และมีสีอื่น ๆ แต้มตัดกันชัดเจน คือมีหัวสีม่วงอ่อน มีแถบดำเล็ก ๆ พาดระหว่างตาทั้งสองข้าง มีแถบดำขนาดใหญ่จาก โคนปากล่างมายังด้านข้างของคอ โคนปีกสีเหลือง อกสีชมพู ท้องสีเขียวอมฟ้า นกตัวผู้มี ปากสีแดงสด ตัวเมียมีปากสีดำ
เสียงร้อง : แหลม "แอ๊ก-แอ๊ก-แอ๊ก" หลายจังหวะและสำเนียง
เขตแพร่กระจาย
พบนกแขกเต้า มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ ยูนนาน พม่า เวียดนาม อินโดจีน ไหหลำ ในประเทศไทย พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป
แหล่งที่อยู่อาศัย
ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น และพื้นที่เกษตรกรรม พบมากบนพื้นราบ แต่บางครั้งอยู่สูงถึง 1,200 เมตร
อุปนิสัย
นกแขกเต้า ชอบอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ที่มีผลสุก ปีนป่ายไปตามกิ่งไม้ได้ดี กินผลไม้สุกและผลไม้ ที่มีเปลือกแข็ง เมล็ดพืช แมลงและน้ำหวานดอกไม้
การผสมพันธุ์ ช่วงเดือนไหน
นกแขกเต้า เริ่มผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนมกราคม- เมษายน ทำรังอยู่ในโพรงไม้สูงจากพื้นดิน 3-10 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง
สถานภาพ
นกแขกเต้า เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย พบมากในป่าเต็งรัง เกาะอยู่บนต้นรัง หรือต้นยาง เคยพบนับร้อย ตัว หากินอยู่บนต้นไทรสุก