สิงโตพัดภูหลวง. กล้วยไม้ป่า, ลักษณะดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ ออกดอกเดือนไหน หายาก
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ"สิงโตพัดภูหลวง"
- สิงโตพัดภูหลวง คืออะไร
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกช่วงเดือนไหน?
- การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
สิงโตพัดภูหลวง คืออะไร
สิงโตพัดภูหลวง คือพืชชนิดหนึ่งในพรรณกล้วยไม้ป่า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศไทย สิงโตพัดภูหลวงเป็นพืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular plants) ซึ่งอยู่ในหมวดพืชมีเมล็ด (Spermatophytes) โดยอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms คือกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อวิทยาศาสตร์
สิงโตพัดภูหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Bulbophyllum taeniophyllum C.S.P.Parish & Rchb.f. เป็นพันธุ์พืชในสกุล Bulbophyllum ซึ่งอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยพืชวงศ์นี้อยู่ในอันดับ Asparagales.
สิงโตพัดภูหลวง Bulbophyllum taeniophyllum
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สิงโตพัดภูหลวง มีลักษณะเป็น กล้วยไม้อิงอาศัย รากอ้วนสั้น หัวเทียมเชื่อมติดกัน คล้ายรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ใบ ออกบริเวณปลายหัวเทียม รูปขอบขนานแคบ ๆ กว้าง 1.2-2.5 ซม. ยาว 16–19.5 ซม. ปลายมน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบ สั้นมาก
ดอกสิงโตพัดภูหลวง
ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ออกที่โคนหัวเทียม ก้านช่อดอกรูปทรงกระบอกยาว 12.5-14.5 ซม. มีกาบหุ้ม 2-3 กาบ ยาวประมาณ 5.5 มม. ดอกมีจำนวนมาก ใบประดับที่มีดอกรูปใบหอก แกมรูปไข่ ยาวประมาณ 4.5 มม.
ดอกสีขาวถึงสีเขียวอ่อน มีจุดสีม่วง บางครั้ง กลีบปากสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงบน รูปไข่คว่ำลง กว้างประมาณ 5.5 มม. ยาวประมาณ 8 มม. ปลายแหลม ขอบหยักซี่ฟันไปถึงปลายกลีบ กลีบเลี้ยงข้างรูปใบหอกแคบ ๆ กว้างประมาณ 4.5 มม. ยาวประมาณ 20.5 มม. ปลายเรียวแหลม โคนเชื่อมไปถึงโคนเส้าเกสรและเบี้ยว ขอบด้านบนเชื่อมกัน ขอบด้านล่างโค้งลง
กลีบดอกรูปไข่แคบๆ กว้างประมาณ 2.5มม.ยาวประมาณ 4.5 มม. ปลายเกือบแหลม ขอบหยักซี่ฟัน กลีบปากโค้งลง รูปใบหอก กว้างประมาณ 1.3 มม. ยาว ประมาณ 5.5 มม. ปลายเกือบแหลม อวบหนา ด้านบนมีสัน 2 สัน และมีช่องตรงกลาง โคนติดแนบไปถึงโคนเส้าเกสร ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
เส้าเกสรรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2 มม. ส่วนกลางขยายเป็นครีบ โคนเส้าเกสร ยาวประมาณ 2.5 มม. ส่วนที่ยื่นออกมาจากเส้าเกสรรูปลิ่มแคบ สั้น ๆ ฝาปิดกลุ่มเรณู เกลี้ยง ปลายแยกเป็น 3 แฉก เล็ก ๆ กลุ่มเรณูมีจำนวน 4 กลุ่ม
ผลแบบผลแห้งแตก
ออกดอกช่วงเดือนไหน?
สิงโตพัดภูหลวง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และเดือนกันยายน–พฤศจิกายน
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
สิงโตพัดภูหลวง เป็นกล้วยไม้ป่าที่มีการกระจายพันธุ์ พบที่ พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สำหรับในไทย พบตามป่าดิบชื้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มา : มานพ ผู้พัฒน์, นันทวรรณ สุปันตี, โสมนัสสา แสงฤทธิ์. (2559). กล้วยไม้ในกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.