ปลาปักเป้าหลังแดง พบที่ทะเลสาบสงขลา รายงานใหม่? ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะเด่น

ชื่อวิทยาศาสตร์?

ปลาปักเป้าหลังแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Carinotetraodon irrubesco TAN, 1999 เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Carinotetraodon ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) โดยสัตว์ในวงศ์นี้อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) และมีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Red-tailed Redeye Puffer.

การค้นพบ ในประเทศไทย

เมื่อต้นปีมีเห็นโพสต์ของคุณธเนศ หนูพรหม เอาปลาปักเป้าตัวนึง จับใส่ถาดมาโพสถามว่ามันคือปลาอะไร เขาบอกว่าจับมาจากทะเลสาบสงขลา แล้วก็มีแต่คนเข้าไปตอบว่า ปักเป้าสมพงษ์

ส่วนตัวเห็นตั้งแต่เป็นรูปมัวๆ แวบแรกก็มั่นใจมากว่า มันคือปักเป้าหลังแดง (Carinotetraodon irrubesco) แต่ปัญหาคือ ปักเป้าตัวนี้พบเฉพาะในลุ่มน้ำบันยัวซิน ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา และแม่น้ำซัมบัส ทางตะวันตกของกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว ไม่เคยมีรายงานจากที่อื่นนอกจากนี้มาก่อน แต่เนื่องจากยังไม่เห็นตัวจริงเลยได้แต่เก็บความสงสัยเอาไว้ในใจ 

ปลาปักเป้าหลังแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Carinotetraodon irrubesco

ปลาปักเป้าหลังแดง Carinotetraodon irrubesco; ภาพโดย แอด อ.

หลังจากนั้นอีกหนึ่งอาทิตย์ ปลาตัวอย่างเดินทางมาถึง กทม ชุดนึง ทางนี้ก็พยายามถ่ายรูปเก็บไว้ ก่อนจะติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางนำตัวอย่างไปเทียบกับตัวอย่างต้นแบบ เพราะว่าทะเลสาบสงขลานั้นไหลลงอ่าวไทย ในขณะที่ปักเป้าหลังแดงนั้นพบในแหล่งน้ำที่ไหลลงทะเลอันดามัน มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคนละชนิด แต่มีรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงกัน ต้องเอามาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกทีนึง

ผมได้ประสานกับ Dr. Heok Hui Tan แห่ง Lee Kong Chian Natural History Museum ที่สิงคโปร์ คนที่ค้นพบปักเป้าท้องแดงจากบอร์เนียวและสุมาตรา พร้อมกับนำตัวอย่างไปตรวจสอบ

จนล่าสุด ท่านผู้เชี่ยวชาญได้สรุปผลการเทียบเคียงตัวอย่างออกมาว่า ปักเป้าที่พบในไทยตัวนี้ เป็นปักเป้าหลังแดง (C. irrubesco) รายงานใหม่ของประเทศอย่างแน่นอน เพราะเทียบกับตัวอย่างต้นแบบที่ถูกเก็บรักษาเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว ไม่มีอะไรผิดเพี้ยนกันเลย แต่ก็ต้องรอให้ศึกษาเพิ่มเติมจากการทำ DNA ต่อไป

ตอนนี้ก็แน่นอนแล้วว่า ทะเลสาบสงขลา เป็นแหล่งอาศัยของปักเป้าชนิดนี้ ซึ่งถูกค้นพบโดยบังเอิญด้วยเครือข่ายวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง และเป็นพื้นที่เหนือสุดของการกระจายพันธุ์เท่าที่มีการสำรวจพบ

เท่ากับว่า ตอนนี้ในเมืองไทยเราพบปักเป้าสกุลนี้ได้ถึงสองชนิด ได้แก่ ปักเป้าสมพงษ์ (C. lorteti) และปักเป้าหลังแดงชนิดนี้ นั่นเอง

เพิ่มเติม:

ปักเป้าสกุล Carinotetraodon นั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด ทุกชนิดมีขนาดเล็กและนิสัยน่ารักกว่าปักเป้าสกุลอื่นๆ มาก ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในวงการปลาสวยงาม

อย่างไรก็ตามนอกจาก ปักเป้าแคระ (C. travancoricus) จากอินเดียแล้ว ชนิดอื่นๆ เป็นของที่ค่อนข้างหาดูได้ยาก และไม่ค่อยมีคนนำเข้ามาให้เห็นเท่าไหร่

ที่มา : แอด อ., หนังสือธรรมชาติวิทยา by Siamensis Co.,Ltd.

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้า..

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์ อะไรบ้าง วิธีเลี้ยงปลาแพลทตี้.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก เสื้อใน ซาบีน่า Sabina Braless...

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีโทนเสียงดี..

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง

วิธีทำน้ำหมักปลากัด หมักด้วยอะไร มีกี่สูตร ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีใช้น้ำหมักใบหูกวาง.

ตะพาบน้ำ (ปลาฝา, ตะพาบไทย) กินอะไร? อาหาร ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ.

ปลากราย, ปลาตองลาย, ปลาสะตือ, สลาด ลักษณะเด่น ความแตกต่างกัน อย่างไรบ้าง.