พรรณรายภูวัว พืชถิ่นเดียวของไทย บึงกาฬ ชื่อวิทยาศาสตร์ ออกดอกเดือนไหน หายาก

เนื้อหาข้อมูล "พรรณรายภูวัว"

พรรณรายภูวัว คืออะไร

พรรณรายภูวัว เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย ที่มีชื่อไทยเป็นชื่อทางการว่า "พรรณรายภูวัว" (อ้างอิงตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ยังมีชื่ออื่นที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น หางไหลภูวัว

ชื่อวิทยาศาสตร์

พรรณรายภูวัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Millettia phuwuaensis Mattapha & Suddee อยู่ในสกุล Millettia วงศ์ Fabaceae คำระบุชนิด "phuwuaensis" ตั้งตามชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ซึ่งเป็นสถานที่เก็บตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ

พรรณรายภูวัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia phuwuaensis

พรรณรายภูวัว; ภาพโดย T. Phuthai, กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้.

จากการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ ดร.สมราน สุดดี และคณะ ร่วมกับ ดร.สไว มัฐผา นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ถั่วจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ค้นพบ "พรรณรายภูวัว" พืชชนิดใหม่ของโลก ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 47(2) หน้า 171-183 ค.ศ. 2019 ตัวอย่างผลพรรณไม้ต้นแบบหมายเลข Mattapha, Suddee & BKF staff 1127 เก็บจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2015

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พรรณรายภูวัว มีลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อย 5-7 ใบ เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-22 ซม. เส้นแขนงใบข้างละ 10-18 เส้น

ดอกพรรณรายภูวัว

ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกเป็นกระจุกตามซอกใบหรือตามกิ่งแก่ที่ใบหลุดร่วง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดง ปลายหลอดแยกเป็น 5 แฉก

กลีบดอกดอกชมพูอมสีม่วง มี 5 กลีบ แยกกัน กลีบกลางรูปไข่กลับแคบ ๆ ยาว 1.4-1.5 ซม. ด้านนอกมีแถบตามยาวสีแดงอมน้ำตาล กลีบคู่ข้างและกลีบคู่ล่างรูปขอบขนานแกมรูปเคียว ยาวประมาณ 1 ซม.

เกสรเพศผู้คล้ายเชื่อมติดกลุ่มเดียว ส่วนโคนเกลี้ยง หลอดเกสรเพศผู้ ยาว 9-10 มม. จานฐานดอกรูปหลอด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนสั้นนุ่ม ก้านยอดเกสรเพศเมียมีขนที่ส่วนโคน

ผลเป็นฝัก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ แบน กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดมี 1-2 เมล็ด ค่อนข้างกลม แบน

ออกดอกช่วงเดือนไหน?

พรรณรายภูวัว ออกดอกช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นผลเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา

การกระจายพันธุ์ของพรรณรายภูวัว เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่จังหวัดบึงกาฬ ตามที่เปิดโล่งชายป่าผสมผลัดใบ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 300 ม.

ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

คลิกดิ้! อัปเดตเทรนด์ทุกไลฟ์สไตล์ พร้อมเสิร์ฟสาระดีๆ ที่ให้คุณเพลิดเพลินกับไอเดียใหม่ๆ ได้ทุกวัน แนะนำสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้ามาใหม่ล่าสุด มาแรง ข้อมูลสินค้ายอดนิยม ราคาและโปรโมชั่นล่าสุด ช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว เก็บโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี คูปองเงินคืน ส่วนลด โปรโมชันพิเศษล่าสุด เปรียบเทียบข้อมูลและราคาสินค้า อัปเดตล่าสุด

Popular Posts

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ชุดคิท วงจรปรีโทนคอนโทรล ยี่ห้อไหนดี? วงจรปรีแอมป์ วงจรปรีโทนเสียงดี ราคาถูก.

แมวดาว' ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อภาษาอังกฤษ ลักษณะ กินอะไร ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานภาพ.

วิธีเลี้ยงเต่าซูคาต้า กินอะไร? อาหารเต่าบก อาหารเต่าซูคาต้า ยี่ห้อไหนดีมีกี่สูตร ราคา.

สตาร์เกิลจี ช่วยอะไร อันตรายไหม ใช้ยังไง วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก.

ตะพาบน้ำ (ปลาฝา, ตะพาบไทย) กินอะไร? อาหาร ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ.