กระดองูดำ ลักษณะดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnostachyum decurrens ถิ่นอาศัย.
ชื่อวิทยาศาสตร์
กระดองูดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnostachyum decurrens Stapf
วงศ์ Acanthaceae
นิเวศวิทยา กระดองูดำ
ถิ่นอาศัยของต้นกระดองูดำ พบทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้ ตามที่เปิดโล่งหรือตามซอกหินปูน ป่าดิบแล้ง ป่าดิบขึ้น และป่าผสมผลัดใบ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 200-600 ม.
ออกดอกเดือนไหน
ดอกกระดองูดำ ออกดอกและเป็นผล ในช่วงเดือนธันวาคม - พฤษภาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นกระดองูดำ มีลักษณะวิสัยเป็นไม้ล้มลุก สูง 20-50 ซม. ลำต้นเดี่ยวหรือแตกกิ่งสั้น ๆ กิ่งเป็นเหลี่ยมถึงกลม สีน้ำตาลดำ ข้อบวมพอง กิ่ง มีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียง เป็นกระจุกใกล้พื้นดิน รูปไข่ กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนมนหรือเว้ารูปหัวใจ เล็กน้อย ขอบเรียบ มีขนครุย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ค่อนข้างเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 4-6 เส้น โคนใบ แผ่เป็นครีบ มีขนประปราย
ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมาก กลีบเกลี้ยงโคนเชื่อม ติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยก 4-5 แฉก รูปแถบ ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบมีขนสั้น
กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยกเป็นรูปปากเปิด แยกเป็น 2 ซีก ซีกบน ส่วนปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ 2 แฉก ซีกล่าง มีแถบสีขาว ส่วนปลายแยกเป็น 3 แฉก แฉกกลาง รูปสามเหลี่ยม สีม่วง มีขนาดสั้นกว่าแฉกคู่ข้าง ด้าน นอกสีขาวมีขนสั้นนุ่มประปราย
เกสรเพศผู้ 2 เกสร ก้านชูอับเรณู มีขนประปราย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมืออวุล 2 เม็ด ก้านยอดเกสร เพศเมียเรียวยาว มีขนประปรายยอดเกสรเพศเมีย แยกเป็น 2 แฉก
ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก แกมสันสี่เหลี่ยม เมล็ดมี 9-30 เมล็ด สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็ก
การกระจายพันธุ์
การแพร่กระจายของกระดองูดำ ในต่างประเทศพบที่คาบสมุทรมลายู
ที่มาข้อมูลและภาพ : หนังสือพรรณไม้ในพื้นที่โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี