กราบเขากระโจม ออกดอกช่วงเดือนไหน ชื่อวิทยาศาสตร์ Staurogyne cuneata.
ชื่อวิทยาศาสตร์
กราบเขากระโจม ชื่อวิทยาศาสตร์ Staurogyne cuneata J.B.Imlay
วงศ์ Acanthaceae
ชื่ออื่น: -
นิเวศวิทยา กราบเขากระโจม
ถิ่นอาศัยของต้นกราบเขากระโจม เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวัน ตกเฉียงใต้และภาคใต้ ตามที่เปิดโล่ง ป่าดิบชื้นและ ป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 600 - 850ม.
ออกดอกเดือนไหน
ดอกกราบเขากระโจม ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เป็นผลเดือนสิงหาคม ตุลาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นกราบเขากระโจม มีลักษณะวิสัยเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นส่วนโคนเกาะเลื้อยตาม พื้นแล้วตั้งตรง กิ่งอ่อนมีขนประปรายหรือค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2-5 ชม. ยาว 5.5-12 ซม. ปลายเรียวแหลมหรือ แหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปรายตามเส้นใบ ไม่มี ซิสโทลิท เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ก้านใบมีขนสั้น นุ่ม
ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ใบประดับ 2 ใบ เรียงตรงข้าม ใบประดับย่อยรูปแถบ เกลี้ยง กลีบ เลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อยปลายแยกเป็น 5 แฉก ค่อนข้างเกลี้ยง กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนประปราย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูไข่กว้าง มีขนาดใกล้เคียงกันตำแหน่งกลางกลีบ ด้านในมีแถบสีชมพูอมม่วง ด้านนอกสีขาว
เกสรเพศผู้ 4 เกสร ยาวสองสั้นสอง ก้านชูอับเรณูไม่โผล่พ้นหลอด กลีบดอก มีขนยาวมีต่อมขนที่ส่วนปลาย รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ รูปทรงรี เกลี้ยง มี 2 ช่อง แต่ละช่องมืออวุล 12-60 เม็ด เรียงกันเป็น 2 หรือ 4 แถว ก้านยอดเกสร เพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก มี 1 แฉกที่มีปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลแบบผลแห้งแตก เกลี้ยง รูปทรงรีแกมทรงรูปไข่ เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก รูปทรงกลม
ที่มาข้อมูลและภาพ : หนังสือพรรณไม้ในพื้นที่โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี