ชะลูด (ลูด, นูด) ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ออกดอกเดือนไหน? ประโยชน์ สรรพคุณ.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'ชะลูด'
- ชะลูด คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- ประโยชน์และสรรพคุณ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
ชะลูด คืออะไร
ชะลูด คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ชะลูด' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ลูด, นูด เป็นต้น.
ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์ของชะลูด เถาแก่ที่มีสีดำ นำมาทุบแล้วลอกเปลือกสีดำออก ลอกเอาแต่เนื้อสีขาวที่หุ้มแกน ผึ่งลมให้แห้ง จะมีกลิ่นหอมมากคล้ายกลิ่นวานิลลา ใช้ผสมในตำรับยาสมุนไพรโบราณกลุ่มยาลม ยาหอม ช่วยขับผายลม แก้ปวดท้อง บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ใช้อบผ้า อบกลิ่นห้อง หรือบดผสมในแป้งหอมประทินผิว แป้งหอมแต่งกลิ่นขนมไทย
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ชะลูด ภาษาอังกฤษ ว่า Vanilla Woody Climber.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชะลูด ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alyxia reinwardtii Blume เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Alyxia โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Gentianales.
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Gynopogon reinwardtii (Blume) Koord.
- Alyxia lucida Wall.
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Gentianales
- วงศ์ (Family) : Apocynaceae
- สกุล (Genus) : Alyxia
- ชนิด (Species) : Alyxia reinwardtii
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชะลูด มีลักษณะวิสัยเป็นไม้เลื้อย ยาวถึง 4 ม. ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำยางสีขาวขุ่น และมีกลิ่นหอมคล้ายวานิลลา เถาสีเทาดำมีตุ่มจำนวนมาก ตามปลายกิ่งและใบเกลี้ยง ยอดมีชันเหนียวสีส้มแดง
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อ 3 ใบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 8-11 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม-มน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นแขนงใบประมาณ 20 คู่ เรียงขนานกัน ขอบใบหุ้มลงเล็กน้อย ก้านใบยาวถึง 5 มม.
ช่อดอกแบบกระจุก ยาว 3-5 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีขนสั้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 ซม. ดอกเป็นหลอดสีขาว ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่ ยาว 5 มม. ไส้กลางดอกสีแดงส้ม
ผลแบบผนังชั้นในแข็ง ทรงกลม-รี ยาว 1-1.5 ซม.
ออกดอกเดือนไหน
ดอกชะลูด ออกดอกเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ผลแก่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของต้นชะลูด พบขึ้นตามที่โล่ง หรือชายป่า ป่าผลัดใบ ป่าดิบ แต่มักพบตามป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้าตามพลาญหินทรายที่ดินเป็นกรด ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,700 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของต้นชะลูด พบในประเทศไทยและลาวพบทั่วทุกภาค และกระจายพันธุ์ที่ประเทศจีนทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์