นกกินเปี้ยว (นกกินปู, นกปูเปี้ยว) ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นอาศัย กินอะไร อาหาร.

เนื้อหาข้อมูล นกกินเปี้ยว

นกกินเปี้ยว คืออะไร?

นกกินเปี้ยว คือสัตว์ปีกจำพวกนกชนิดหนึ่งในกลุ่มนกประจำถิ่นของไทย ซึ่งดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทย โดยมีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย

นกกินเปี้ยวเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในชั้นสัตว์ปีก หรือ สัตว์จำพวกนก (รวมถึง ไก่,เป็ด,ห่าน,ไก่ฟ้า) ซึ่งสัตว์จำพวกนี้เป็นสัตว์เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ หายใจโดยใช้ปอด มีจะงอยปากแข็ง ฟันลดรูป กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรงกลวงเบา ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีปีก 1 คู่ มีขา 1 คู่ มีรูปร่างเพรียวปกคลุมด้วยขน มีขนเป็นแผง มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ทำรังวางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม

ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)

นกชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'นกกินเปี้ยว' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น นกกินปู, นกปูเปี้ยว เป็นต้น.

อุปนิสัยและถิ่นอาศัย

นกกินเปี้ยว Todiramphus chloris ภาษาอังกฤษ Collared Kingfisher

photo by JJ Harrison.

นกกินเปี้ยว เป็นนกที่มีกิจกรรมต่างๆในตอนกลางวัน พบในป่าชาย เลน ป่าที่น้ำทะเลท่วมถึง ป่าชายหาด และสวนผลไม้ที่ใกล้ๆกับแม่น้ำลำคลอง มักเกาะตามกิ่ง ไม้แห้ง หรือตอไม้ เช่นเดียวกับนกกระเด็นอื่นๆ ขณะที่เกาะลำตัวเกือบตั้งตรง บินได้ดีแม้แต่ ในป่าที่แน่นทึบไปด้วยต้นไม้และกิ่งไม้ ขณะที่บินมักส่งเสียงร้องไปด้วย โดยออกเป็นเสียง "เกร็ก-เกรีก-เกร็ก" แต่ละพยางค์ค่อนข้างถี่ บางครั้งก็ร้องในขณะที่เกาะอยู่ ส่วนใหญ่พบโดด เดี่ยว หรือเป็นคู่ๆ ไม่ค่อยพบเป็นฝูง

รายละเอียดเพิ่มเติม

กินอะไรเป็นอาหาร

อาหารของนกกินเปี้ยว กินปูต่างๆเป็นอาหาร โดยเฉพาะปูเปี้ยวหรือ ปูก้ามดาบ ปูแสม และปูตามป่าชายเลน พฤติกรรมการหาอาหารจะใช้วิธีเกาะตามกิ่งไม้ หรือ ตอไม้ บางครั้งก็พบเกาะตามโขดหิน หรือเนินดินที่น้ำท่วมไม่ถึง ตาคอยจ้องหาเหยื่อ เมื่อพบ จะบินลงมาโฉบจับด้วยปาก คาบเหยื่อแล้วบินขึ้นไปเกาะตามกิ่งไม้ ฟาดเหยื่อกับกิ่งไม้ จนกระทั่งเหยื่อตาย จากนั้นก็จะกลืนกินเหยื่อทั้งตัว

นอกจากปูต่างๆดังกล่าวแล้ว นกกินเปี้ยว ยังกินแมลง กบ เขียด ปลา งู กิ้งก่า และจิ้งจก เป็นอาหารอีกด้วย พฤติกรรมในการจับเหยื่อ ต่างๆเหล่านี้คล้ายกับการจับปู ยกเว้นการจับแมลงซึ่งอาจใช้วิธีโฉบจับกลางอากาศ และการ จับปลาซึ่งโฉบจับในน้ำโดยใช้ปากเช่นเดียวกัน รวมทั้งการนำเหยื่อที่จับได้มาฟาดกับกิ่งไม้ ก่อนที่จะกลืนกินเหยื่อทั้งตัวเช่นเดียวกัน

ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อสามัญ (Common name) ของ นกกินเปี้ยว ภาษาอังกฤษ ว่า Collared Kingfisher, White-collared Kingfisher, Mangrove Kingfisher.

ชื่อวิทยาศาสตร์

นกกินเปี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Todiramphus chloris (Boddaert, 1783) เป็นสัตว์ปีกในสกุล Todiramphus โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์นกกระเต็นน้อย (Alcedinidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของนกในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) ซึ่งบาง ตำราก็ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกินเปี้ยวว่า Halcyon chloris

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Halcyon chloris (Boddaert, 1783)
  • Todirhamphus chloris (Boddaert, 1783)

ความหมายของชื่อ และ การค้นพบ

ชื่อชนิดเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ ภาษากรีกคือ chlor,-o หรือ khloris แปลว่าสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง ความหมายก็คือ "นก ที่มีสีสันเป็นสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง" เป็นชนิดที่พบครั้งแรกที่เกาะ Buru ในหมู่เกาะ Moluccas ประเทศอินโดนีเซีย

นกกินเปี้ยวทั่วโลกมีจำนวนชนิดย่อยมากถึง 47 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดย่อย คือ 

  • Todirhamphus chloris armstrongi Bowdler Sharpe ชื่อ ชนิดย่อยเป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล เป็นชนิดย่อยที่พบครั้งแรกในประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร)
  • Todirhamphus chloris humii Bowdler Sharpe ชื่อ ชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคลเช่นเดียวกัน

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

ลักษณะทั่วไป

นกกินเปี้ยว มีลักษณะเป็นนกที่มีขนาดเล็ก (23-24 ซม.) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและ สีสันเหมือนกัน ปากสีดำ ทางด้านบนลำตัวเป็นสีเขียวแกมน้ำเงิน ทางด้านล่างลำตัวสีขาว บริเวณรอบคอมีแถบสีขาวชัดเจน ปีกด้านบนสีเช่นเดียวกับลำตัวด้านบน ขาและนิ้วสีดำ

การสืบพันธุ์

การสืบพันธุ์ของนกกินเปี้ยว ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน หรือระหว่างเดือนมิถุนายน- สิงหาคม ปกติทำรังตามโพรงของต้นไม้บริเวณแหล่งหากิน ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่นๆทำทิ้งเอาไว้เช่น มด ปลวก หรือกระรอก เป็นต้น

บางครั้งก็วางไข่บนตอ ไม้ซึ่งยอดหักตามธรรมชาติ หรือถูกโค่น โพรงหรือตอไม้ที่ใช้ทำรังมักจะอยู่ไม่สูงจากพื้นดิน มากนัก หากต้นไม้ต้นเดียวกันมีหลายโพรง ทุกๆโพรงจะถูกใช้ทำรังหมด บางครั้งก็พบนกจิก ตีกันเพื่อแย่งสถานที่ทำรัง นกบางคู่ก็ใช้โพรงที่นกคู่อื่นๆ ได้ทำรังและทิ้งรังไปแล้ว และปกติ ไม่มีวัสดุใดๆรองรังหรือโพรงอีกเลย

ไข่ของนกกินเปี้ยวเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดย เฉลี่ย 24.0 x 29.1 มม. ไข่สีขาวเป็นมัน ไม่มีลายใดๆ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง ทั้ง 2 เพศ ช่วยกันฟักไข่ โดยจะฟักเมื่อออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ส่วนใหญ่จะฟักไข่ในตอนกลางคืน ในตอนกลางวันจะฟักไข่บ้างในวันที่มีฝนตก หรืออากาศเย็น

ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 19-21 วัน ลูกนกที่ออกจากไข่มาใหม่ๆ ยังไม่ลืมตา ไม่มีขนใดๆปกคลุมร่างกาย ขาและนิ้วยัง ไม่แข็งแรง ลูกนกเจริญเติบโตและพัฒนาขนปกคลุมร่างกายค่อนข้างเร็ว ช่วงระยะเวลา 2-3 สัปดาห์หลังออกจากไข่ก็สามารถบินได้แข็งแรงและทิ้งรังไป

ในขณะที่ลูกยังไม่แข็งแรงและ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้นี้ พ่อแม่จะช่วยกันกกลูก และหาอาหารมาป้อน ในขณะที่ตัวใดตัวหนึ่ง ไปหาอาหาร อีกตัวหนึ่งจะคอยเฝ้าอยู่บริเวณปากโพรง เพื่อป้องกันอันตรายต่างให้ 

อาหารที่นำมาป้อนในระยะแรกๆ มักจะเป็นแมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ พอลูกนกโตพอประมาณแล้ว อาหารที่พ่อแม่นกนำมาป้อนส่วนใหญ่จะเป็นปูเปี้ยวซึ่งเป็น อาหารส่วนใหญ่ของพ่อแม่นกนั่นเอง พ่อแม่จะป้อนอาหารโดยการเกาะที่ปากโพรง ลูกๆจะ ยื่นปากออกมารับอาหาร พ่อแม่จะเลี้ยงดูจนกระทั่งลูกแข็งแรงและบินได้

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจายของนกกินเปี้ยว เป็นชนิดย่อยที่พบครั้งแรกที่รัฐเซลังงอ ประเทศมาเลเซีย นก กินเปี้ยวกระจายพันธุ์ในอินเดีย จนถึงจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ เกาะอันดามัน เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา และฟิลิปปินส์ จนถึงออสเตรเลีย และแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้พบตามชายฝั่งทะเลทั่วไป รวมทั้งตามลำแม่น้ำโขง จนกระทั่งภาคกลางของลาว

สถานภาพ

นกกินเปี้ยว มีสถานภาพตามฤดูกาล (Seasonal status) เป็น นกประจำถิ่นของไทย พบได้บ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย armstrongi พบตามฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดตราดจนถึงคอคอดกระ และ ชนิดย่อย humii พบในฝั่งทะเลอันดามัน และฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่คอคอดกระลงไปจน ใต้สุด มีสถานภาพทางกฎหมาย (Legal status) เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง และมีสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least concern)

ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

รายละเอียดเพิ่มเติม

โพสต์ยอดนิยมแห่งปี

สตาร์เกิลจี ช่วยอะไร อันตรายไหม ใช้ยังไง วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

น้ำยาเร่งราก บีสตาร์ท B Start ใส่ตอนไหน วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ยี่ห้อไหนดี ราคาถูก.

ตุ๊กตาหมี care bear แคร์แบร์ มีทั้งหมดกี่สี ของแท้ดูยังไง ความหมายนิสัยของแต่ละสี.

ปุ๋ยออสโมโค้ท 13-13-13 ปุ๋ยเม็ดละลายช้า ประโยชน์ช่วยอะไร วิธีใช้ ใส่ยังไง ราคาถูก.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ลําโพงร้องคาราโอเกะ, ชุดคาราโอเกะบ้าน เครื่องเสียงคาราโอเกะ เสียงดี ยี่ห้อไหนดี.

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

มือถือและอุปกรณ์เสริม

เครื่องเสียงและลำโพง

อุปกรณ์และเครื่องมือช่าง

ระบบไฟฟ้า&ความปลอดภัย

โคมไฟและหลอดไฟ

ประตูและหน้าต่าง

ห้องครัวและอุปกรณ์ครัว

ห้องนอนและเครื่องนอน

เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน

ผลิตภัณฑ์สําหรับแม่และเด็ก

ระบบน้ำประปาและอุปกรณ์

สุขภาพและความงาม

ของใช้ภายในบ้าน

กีฬาและออกกำลังกาย

ท่องเที่ยวและการเดินทาง