งูแสงอาทิตย์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ กินอะไรเป็นอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัย.
เนื้อหาข้อมูล งูแสงอาทิตย์
- งูแสงอาทิตย์ คืออะไร?
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- อุปนิสัยและถิ่นอาศัย
- งูแสงอาทิตย์ กินอะไร
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- การค้นพบครั้งแรก
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- ลักษณะทั่วไป
- การสืบพันธุ์
- การแพร่กระจาย
- สถานภาพ
งูแสงอาทิตย์ คืออะไร?
งูแสงอาทิตย์ คือ สัตว์เลื้อยคลานจำพวกงูชนิดหนึ่ง ที่ดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทย โดยมีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย
งูแสงอาทิตย์ เป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย หายใจโดยใช้ปอด ซึ่งเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) อันดับกิ้งก่าและงู (Squamata)
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
งูแสงอาทิตย์ ยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น งูเหลือมดิน เป็นต้น.
อุปนิสัยและถิ่นอาศัย
งูแสงอาทิตย์; photo by M.A. Muin Md. Akil.
งูแสงอาทิตย์ เป็นงูที่ชอบอยู่ใต้ดินตามพื้นที่ชุ่มชื้น อาศัยตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มน้ำจนถึงในป่าดิบชื้น งูแสงอาทิตย์เป็นงูที่ออกหากินในเวลากลางคืน
งูแสงอาทิตย์ กินอะไร
อาหารของงูแสงอาทิตย์ จะกินงูชนิดอื่น หนู กบ เขียด จิ้งเหลน ลูกไก่ เป็นต้น
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ งูแสงอาทิตย์ ภาษาอังกฤษ ว่า Sunbeam Snake, Asian Sunbeam Snake.
ชื่อวิทยาศาสตร์
งูแสงอาทิตย์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Xenopeltis unicolor Reinwardt, 1827 เป็นงูในสกุล Xenopeltis โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์งูแสงอาทิตย์ (Xenopeltidae) ซึ่งเป็นวงศ์ที่อยู่ในอันดับกิ้งก่าและงู (Squamata)
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Xenopeltis unicolor Reinwardt in Boie, 1827
- Xenopeltis concolor Reinwardt in Boie, 1827
- Xenopeltis leucocephala Reinwardt in Boie, 1827
- Tortrix xenopeltis Schlegel, 1837
- Xenopeltis unicolor Boulenger, 1893
- Xenopeltis unicolor Smith, 1943
- Xenopeltis unicolor Zhao & Adler, 1993
- Cryptophidion annamense Wallach & Jones, 1992 (Pauwels & Meirte, 1996)
- Xenopeltis unicolor Manthey & Grossmann, 1997
- Xenopeltis unicolor Cox et al., 1998
- Xenopeltis unicolor McDiarmid, Campbell & Touru, 1999
การค้นพบครั้งแรก
สถานที่พบครั้งแรก เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Reptilia
- อันดับ (Order) : Squamata
- วงศ์ (Family) : Xenopeltidae
- สกุล (Genus) : Xenopeltis
- ชนิด (Species) : Xenopeltis unicolor
ลักษณะทั่วไป
งูแสงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นงูขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่หัวถึงปลายหางประมาณ 120 เซนติเมตร มีลักษณะ ลำตัวมีสีดำถึงสี น้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีขาว ส่วนหัวแบนเรียว ตาเล็ก หางสั้น
ลักษณะเด่นคือเกล็ดลำตัวเรียบเป็น เงาแวววาบสะดุดตาเมื่อสะท้อนแสงแดด และในลูกงูแรกเกิดมีรอบคอเป็นสีขาวแตกต่างจากงูตัว โตเต็มวัย
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์ของงูแสงอาทิตย์ ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ 3 - 17 ฟอง จากข้อมูลในงานเพาะเลี้ยงงูของสถานเสาวภา ได้นำแม่งูตั้งท้องมาเลี้ยงไว้ ได้วางไข่จำนวน 19 ฟอง ในเดือนมีนาคม และฟักเป็นตัวในเดือนพฤษภาคม รวมระยะฟักไข่ในห้องทดลอง 65 วัน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 8.2 - 8.6 กรัม และความยาว 25.0 – 29.5 เซนติเมตร
การแพร่กระจาย
การแพร่กระจายของงูแสงอาทิตย์ พบในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
การแพร่กระจายในไทย พบที่ เชียงใหม่, แพร่ (แม่ยม); นครราชสีมา (สะแกราช), สระบุรี, ปทุมธานี (รังสิต), ปราจีนบุรี (ประจันตะคาม); ชลบุรี (บางแสน); เพชรบุรี (ชะอำ); ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน); สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย,เขาท่าเพชร); พังงา (เขาสก); ภูเก็ต; นครศรีธรรมราช (เขาหลวง); ยะลา (บันนังสตาร์) นราธิวาส(สุไหงโกลก)
สถานภาพ
งูแสงอาทิตย์ มีสถานภาพทางกฎหมาย (Legal status) เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองพ.ศ.2546 IUCN (2011) และมีสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น กลุ่มสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC - Least Concern)
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.