ตะพาบน้ำ (ปลาฝา, ตะพาบไทย) กินอะไร? อาหาร ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ.
เนื้อหาข้อมูล "ตะพาบน้ำ"
- ตะพาบน้ำ คืออะไร
- ตะพาบน้ำ กินอะไร
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- ลักษณะทั่วไป
- การสืบพันธุ์
- ถิ่นที่อยู่อาศัย
- การแพร่กระจาย
- สถานที่พบครั้งแรก
- สถานภาพ
- ปัจจัยคุกคาม
ตะพาบน้ำ คืออะไร
ตะพาบน้ำ เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน มีชื่ออื่นที่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีกว่า ตะพาบ, ตะพาบไทย, ตะพาบสวน, ตะพาบธรรมดา, ปลาฝา และมีชื่อสามัญ (common name) ภาษาอังกฤษ ว่า Asiatic Softshell Turtle, Southeast Asian Softshell Turtle, Black-rayed Softshell Turtle
ตะพาบน้ำ กินอะไร
ตะพาบน้ำ Amyda cartilaginea; ภาพโดย David Emmett.
อาหารของตะพาบน้ำ กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น แมลง ปูกุ้ง หอยทาก หอยสองฝา ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบน ซาก ผลไม้ และเมล็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์
ตะพาบน้ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Amyda cartilaginea (Boddaert, 1770) อยู่ในสกุล Amyda วงศ์ Trionychidae
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ซับไฟลัม (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Reptilia
- ลำดับ (Order) : Chelonia (Testudines)
- วงศ์ (Family) : Trionychidae
- สกุล (Genus) : Amyda
ลักษณะทั่วไป
ตะพาบน้ำ มีลักษณะ จมูกยื่นเป็นหลอด กระดองอ่อนนุ่มติดกับลำตัว กระดองส่วนบนมีปุ่มกลมเรียงเป็นแถวบริเวณขอบ ด้านหน้าของกระดอง กระดองส่วนบนสีน้ำตาลเทา มีลายกระสีเหลืองและดำ บางตัวมีลายจุดแต้มสีดำเรียง เป็นแถว บางครั้งพบจุดสีเหลืองจำนวนมากในตะพาบขนาดเล็ก กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 83 เซนติเมตร
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์ของตะพาบน้ำ ตัวเมียเต็มวัยเมื่อ (Liat and Das, 1999) อายุ 20 เดือน วางไข่ปีละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 5-10 ฟอง ฟักไข่นาน 61-140 วัน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ตะพาบน้ำ มีถิ่นที่อยู่อาศัย พบตามแหล่งน้ำแทบทุกประเภท ทั้งลำธารในป่า ลำคลอง แม่น้ำ หนองน้ำตื้น จนถึงปากแม่น้ำ
การแพร่กระจาย
การแพร่กระจายของตะพาบน้ำ พบในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน
สำหรับการแพร่กระจายในประเทศไทย พบตะพาบน้ำที่ แม่ฮ่องสอน (แม่สะเรียง); กำแพงเพชร (คลองลาน), อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง); กาญจนบุรี (แม่น้ำ แม่กลอง); เลย (ภูหลวง); สระแก้ว (ปางสีดา), จันทบุรี (เขาสระบาป), กรุงเทพฯ, ปทุมธานี (รังสิต); สุราษฎร์ธานี (คลองแสง, ทุ่งเตา), นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง), สตูล (ทะเลบัน) ยะลา (บันนังสตาร์)
สถานที่พบครั้งแรก
ตะพาบน้ำ พบครั้งแรกที่ ชวา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานภาพ
ตะพาบน้ำ มีสถานภาพทางกฎหมาย จัดให้ตะพาบธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 IUCN (2011)
จัดสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นสัตว์ที่ เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU - Vulnerable) การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II)
ปัจจัยคุกคาม
ตะพาบน้ำมีปัจจัยคุกคามคือ เนื้อและกระดองถูกใช้เป็นอาหาร และเป็นส่วนประกอบยาจีน
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.