เอื้องหมาก กล้วยไม้ป่า ออกดอกเดือนไหน ชื่อวิทยาศาสตร์, ลักษณะ, ดอกมีกลิ่นเหม็น
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ"เอื้องหมาก"
- เอื้องหมาก คืออะไร?
- ชื่อวิทยาศาสตร์?
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์?
- ออกดอกช่วงเดือนไหน?
- การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย?
เอื้องหมาก คืออะไร?
เอื้องหมาก คือพืชชนิดหนึ่งในพรรณกล้วยไม้ป่า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศไทย เอื้องหมากเป็นพืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular plants) ซึ่งอยู่ในหมวดพืชมีเมล็ด (Spermatophytes) โดยอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms คือกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อวิทยาศาสตร์?
เอื้องหมาก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Coelogyne trinervis Lindl. เป็นพันธุ์พืชในสกุล Coelogyne ซึ่งอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยพืชวงศ์นี้อยู่ในอันดับ Asparagales.
เอื้องหมาก Coelogyne trinervis; ภาพโดย BKF-Forest Herbarium.
ชื่อพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อไทยเป็นชื่อทางการว่า เอื้องหมาก (ueang mak ) ซึ่งอ้างอิงตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557)
นอกจากชื่อนี้แล้ว ยังมีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า The Three-Veined Coelogyne.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์?
เอื้องหมาก มีลักษณะเป็น กล้วยไม้อิงอาศัยหรือเกาะบนหิน หัวเทียมทรงรูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8- 3.2 ซม. ใบ มี 2 ใบ รูปแถบถึงรูปใบหอก กว้าง 2.5- 5 ซม. ยาว 11.5-45.5 ซม. ปลายแหลม เส้นใบ 3 เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5-12.5 ซม.
ดอกเอื้องหมาก
ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกด้านข้าง ก้านช่อดอกยาว 3.5-7.5 ซม. มีใบเกล็ดหุ้ม แกนช่อดอกซิกแซก มีลักษณะโค้ง ยาว 3.5-8.5 ซม. แต่ละปล้องยาว 0.8-3 ซม. ใบประดับที่มีดอก รูปใบหอกร่วงง่ายในระยะออกดอก กว้าง 7.5-8 มม. ยาวได้ถึง 25.5 มม.
ดอก มี 5-8 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-4.5 ซม. บานพร้อมกัน ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลีบเลี้ยง กลีบดอก และเส้าเกสร สีขาวถึงสีชมพูอ่อนหรือ สีเขียวอ่อน
กลีบปากสีขาว ขอบของส่วนที่คล้าย ก้านกลีบสีเหลือง แฉกข้างและแฉกกลางสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงบนกางออกรูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง 5.5-8.5 มม. ยาว 19.5-25.5 มม. กลีบเลี้ยงข้าง รูปขอบขนาน กว้าง 4.5-7.5 มม. ยาว 19.5-25.5 มม. ปลายแหลม
กลีบดอกรูปแถบถึงรูปใบหอก กว้าง 1.5-3.5 มม. ยาว 17.5-20.5 มม. ปลายแหลม กลีบปาก กว้าง 13.5-16.5 มม. ยาว 19.5-22.5 มม. ปลายแยก 3 แฉก แฉกข้างกึ่งรูปรีถึงรูปรี กว้าง 5.5-8.5 มม. ยาว 5.5-7.5 มม. ขอบเป็นคลื่น ส่วนที่คล้ายก้านกลีบยาว 1.5-3.5 มม. ปลายมน
บริเวณกลางกลีบปากมีสัน 3 สัน สันกลางสั้นกว่าสันข้าง สันแต่ละสันมีลักษณะเป็นคลื่น เส้าเกสร ยาว 15.5-18.5 มม. ด้านบนมีลักษณะเป็นปีก ปลายเป็นรอยบาก ผลแบบผลแห้งแตก
ออกดอกช่วงเดือนไหน?
เอื้องหมาก ออกดอกช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย?
เอื้องหมาก เป็นกล้วยไม้ป่าที่มีการกระจายพันธุ์ ตั้งแต่ อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม คาบสมุทร มาเลเซีย สุมาตรา ชวา สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบตามป่าผลัดใบระดับต่ำและป่าดิบเขาระดับต่ำ ที่ระดับความสูง 100-2,000ม.
ที่มา : มานพ ผู้พัฒน์, นันทวรรณ สุปันตี, โสมนัสสา แสงฤทธิ์. (2559). กล้วยไม้ในกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.