นกอีแพรดแถบอกดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ นิสัย กินอะไร แหล่งที่พบ.

เนื้อหาข้อมูล นกอีแพรดแถบอกดำ

นกอีแพรดแถบอกดำ คืออะไร?

นกอีแพรดแถบอกดำ คือสัตว์ปีกจำพวกนกชนิดหนึ่งในกลุ่มนกประจำถิ่น ซึ่งดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทย มีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย

นกอีแพรดแถบอกดำเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกสัตว์จำพวกนก ซึ่งสัตว์จำพวกนี้เป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจโดยใช้ปอด มีจะงอยปากแข็ง ฟันลดรูป กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีปีก 1 คู่ มีขา 1 คู่ มีรูปร่างเพรียวปกคลุมด้วยขน มีขนเป็นแผง มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ทำรังวางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม

อุปนิสัย และ แหล่งที่พบ

นกอีแพรดแถบอกดำ Rhipidura javanica (ภาษาอังกฤษ Pied Fantail)

นกอีแพรดแถบอกดำ; photo by JJ Harrison.

นกอีแพรดแถบอกดำ มีอุปนิสัยเป็นนกที่พบตามสวนผลไม้ บริเวณที่ใกล้บ้านเรือน ป่า ละเมาะ ทุ่งโล่ง และป่าชายเลน ตั้งแต่พื้นราบ จนกระทั่งความสูง 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักเกาะหรือกระโดดไปมาตามกิ่งไม้ระดับต่ำ ไม้พุ่ม ไม้พื้นล่าง หรือบนพื้นดิน บางครั้งก็พบเกาะตามเรือนยอดของต้นไม้ระดับสูง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ในขณะที่เกาะหรือกระโดดไปมาตามที่ต่างๆนั้น มักจะยกหางขึ้นเล็กน้อย แผ่ขนหางเป็นรูปพัด อาจจะพบโดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มีพฤติกรรมในการป้องกันอาณาเขต ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งซึ่งไม่ใช่คู่ของมัน หลงเข้ามาในอาณาเขตที่มันครอบครองอยู่ มันจะใช้วิธีส่งเสียงร้องและไล่จิกตีให้ออกไป และใช้พฤติกรรมเช่นเดียวกันนี้กับนกชนิดอื่น และสัตว์อื่น ๆ ด้วย

เสียงร้อง นกอีแพรดแถบอกดำ

เสียงร้องของนกอีแพรดแถบอกดำ นกอีแพรดแถบอกดำ ส่งเสียงร้องเป็นเสียง "ชิบ-ชิบ-ชิวิก" โดยจะร้องเป็นเสียงสูง และเน้นที่พยางค์สุดท้าย

กินอะไร? เป็นอาหาร

อาหารของนกอีแพรดแถบอกดำ กินแมลงขนาดเล็ก และตัวหนอน ต่างๆ โดยจิกกินตามกิ่งไม้ ยอดไม้ บนพื้นดิน และ โฉบจับกลางอากาศใกล้ๆกับกิ่งไม้ที่เกาะ

ชื่อวิทยาศาสตร์

นกอีแพรดแถบอกดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Rhipidura javanica (Sparrman, 1788) เป็นนกในสกุล Rhipidura โดยอยู่ในวงศ์นกอีแพรด (Rhipiduridae) ซึ่งนกในวงศ์นี้อยู่ในอันดับนกจับคอน (Passeriformes)

ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ

นอกจากมีชื่อไทยว่า'นกอีแพรดแถบอกดำ'นี้แล้ว ยังมีชื่อสามัญ (Common name) ภาษาอังกฤษ ว่า Pied Fantail และมีชื่ออื่น ๆ (Other name) อีก เช่น Pied Fantail Flycatcher, Malaysian Pied Fantail.

ความหมายของชื่อ และ การค้นพบ

ชื่อคำระบุชนิด "javanica" เป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่คือ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งพบชนิดนี้เป็นครั้งแรก

ทั่วโลกมีนกอีแพรดแถบอกดำ 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบชนิดย่อยเดียวคือ Rhipidura javanica longicauda Wallace

ชื่อชนิดย่อย "longicauda" เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ long,-i หรือ longus แปลว่ายาว และ caud,=a แปลว่าหาง ความหมายโดยรวมก็คือ "นกที่มีหางยาว" เป็นชนิดย่อยที่พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

ลักษณะทั่วไป

นกอีแพรดแถบอกดำ มีลักษณะเป็นนกที่มีขนาดเล็ก (18 ชม.) ตัวเต็มวัยมีลายพาดสีดำผ่านอกตอนบน ตัดกับสีของคอหอยที่มีสีขาว และท้องที่มีสีขาวแกมสีเนื้อ ด้านบนลำตัวสีเทาเข้ม-น้ำตาล หัวสีออกดำ คิ้วและปลายขนหางสีขาว ตัวไม่เต็มวัยตะโพก และขนคลุมโคนขนหาง ด้านบนสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดง ปีกมีลายพาดสีน้ำตาลแดง แถบพาดที่อกขนาดเล็กและมีลายสีขาว

การสืบพันธุ์

การสืบพันธุ์ของนกอีแพรดแถบอกดำ ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน หรือระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม ทำรังตามกิ่งก้านของต้นไม้ หรือไม้พุ่ม ที่แตกขนานไปกับพื้นดิน ปกติ สูง 2-6 เมตร รังมีลักษณะเป็นรูปถ้วยกลม ขนาดโดยทั่วไป กว้างประมาณ 7-8 ซม. ลึก 2-4 ซม. ก้นรังติดอยู่กับกิ่งไม้ดังกล่าว วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วยกิ่งไม้เล็กๆ ใบไม้ ใบหญ้า เปลือกไม้ เส้นใยมะพร้าว เชื่อมและอัดกันแน่นด้วยใยแมงมุม

ทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุ และก่อสร้างรัง เริ่มต้นจะใช้ใบหญ้า หรือใยมะพร้าวผูกติดกับกิ่งไม้ก่อน จากนั้นก็ใช้กิ่งไม้ เปลือกไม้ และใบหญ้ามาโค้งเป็นรูปรัง มีการสานสอดวัสดุเล็กน้อย ใช้ใบไม้ เปลือกไม้มา ห่อหุ้มที่โครงสร้างดังกล่าว โดยใช้ใยแมงมุมเป็นตัวเชื่อม จนกระทั่งรังหนาแน่น แข็งแรง และยึดติดกับกิ่งไม้อย่างมั่นคง

ในแต่ละรังมีไข่ 2-3 ฟอง ไข่มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสี น้ำตาลเข้ม โดยรอบไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.45 x 16.50 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ โดยเริ่มฟักไข่ฝึกหลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 12-13 วัน ช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน

ซึ่งเมื่อออกจากไข่ใหม่ๆ ไม่มีขนคลุมร่างกาย อายุประมาณ 2 สัปดาห์ จะออกจากรัง รวมกันอยู่เป็นครอบครัว จากนั้นก็แยกจากกันออกไปหากินตามลำพังต่อไป

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจายของนกอีแพรดแถบอกดำ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาใหญ่ และ ฟิลิปปินส์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบในพม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย

สถานภาพ

นกอีแพรดแถบอกดำ มีสถานภาพตามฤดูกาล (Seasonal status) เป็น นกประจำถิ่น พบได้บ่อยและปริมาณมาก พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ มีสถานภาพทางกฎหมาย (Legal status) เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง และมีสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least concern)

ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

รายละเอียดเพิ่มเติม

โพสต์ยอดนิยมแห่งปี

สตาร์เกิลจี ช่วยอะไร อันตรายไหม ใช้ยังไง วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

น้ำยาเร่งราก บีสตาร์ท B Start ใส่ตอนไหน วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ยี่ห้อไหนดี ราคาถูก.

ตุ๊กตาหมี care bear แคร์แบร์ มีทั้งหมดกี่สี ของแท้ดูยังไง ความหมายนิสัยของแต่ละสี.

ปุ๋ยออสโมโค้ท 13-13-13 ปุ๋ยเม็ดละลายช้า ประโยชน์ช่วยอะไร วิธีใช้ ใส่ยังไง ราคาถูก.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ลําโพงร้องคาราโอเกะ, ชุดคาราโอเกะบ้าน เครื่องเสียงคาราโอเกะ เสียงดี ยี่ห้อไหนดี.

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

มือถือและอุปกรณ์เสริม

เครื่องเสียงและลำโพง

อุปกรณ์และเครื่องมือช่าง

ระบบไฟฟ้า&ความปลอดภัย

โคมไฟและหลอดไฟ

ประตูและหน้าต่าง

ห้องครัวและอุปกรณ์ครัว

ห้องนอนและเครื่องนอน

เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน

ผลิตภัณฑ์สําหรับแม่และเด็ก

ระบบน้ำประปาและอุปกรณ์

สุขภาพและความงาม

ของใช้ภายในบ้าน

กีฬาและออกกำลังกาย

ท่องเที่ยวและการเดินทาง