ปลากาแดง กินอะไรเป็นอาหาร ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ วิธีเลี้ยงในตู้ปลา.
เนื้อหาข้อมูล ปลากาแดง
- ปลากาแดง คืออะไร?
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
- กินอะไรเป็นอาหาร
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- ลักษณะเด่น
- ลักษณะทั่วไป
- การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย
ปลากาแดง คืออะไร?
ปลากาแดง คือสัตว์จำพวกปลาในกลุ่มปลาน้ำจืดไทยชนิดหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดไทยที่มีลักษณะสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาสวยงามน้ำจืดของไทย
ปลากาแดง เป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในจำพวกปลากระดูกแข็ง (Bony fish) ในชั้นปลาที่มีก้านครีบ (ray-finned fish) ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดเย็น (Cold-blooded) ที่อุณหภูมิในร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำที่อยู่อาศัย หายใจด้วยเหงือก ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้มปิดเหงือก มีลักษณะโครงกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน มีครีบและหาง ซึ่งใช้ในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในน้ำ
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
ปลาสวยงามน้ำจืดไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'ปลากาแดง' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น ปลาสร้อยดอกยาง, ปลานวลจันทร์ เป็นต้น.
วิธีเลี้ยงในตู้ปลา
วิธีเลี้ยงปลากาแดงในตู้ปลา สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นในตู้ปลาที่มีพรรณไม้น้ำ อุปนิสัยชอบและเล็มกินตะไคร่น้ำและเศษสารอินทรีย์ในตู้ปลา
กินอะไรเป็นอาหาร
Photo by Robert Beke : beke.co.nz.
อาหารของปลากาแดง ในธรรมชาติจะกินสารอินทรีย์เล็ก ๆ ตะไคร่น้ำ และตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่ในที่เลี้ยงในตู้ปลา สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ ปลากาแดง ภาษาอังกฤษ ว่า Redfin shark, Red fin shark, Rainbow sharkminnow, Red finned shark, Rainbow shark, Bicolor shark.
ชื่อวิทยาศาสตร์
ปลากาแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Epalzeorhynchos frenatus (Fowler, 1934) เป็นปลาน้ำจืดไทยในสกุล Epalzeorhynchos โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับปลาตะเพียน (Cypriniformes)
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Epalzeorhynchos frenatum (Fowler, 1934)
- Epalzeorhynchus frenatus (Fowler, 1934)
- Labeo erythrura Fowler, 1937
- Labeo erythrurus Fowler, 1937
- Labeo frenatus Fowler, 1934
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Animalia
- ไฟลัม (Phylum) : Chordata
- ไฟลัมย่อย (Subphylum) : Vertebrata
- ชั้น (Class) : Actinopterygii
- อันดับ (Order) : Cypriniformes
- วงศ์ (Family) : Cyprinidae
- สกุล (Genus) : Epalzeorhynchos
- ชนิด (Species) : Epalzeorhynchos frenatus
ลักษณะเด่น
ปลากาแดง มีลักษณะเด่น คือ เป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกเพราะมีรูปร่างปราดเปรียวลำตัว สีเทาคล้ำ ครีบทุกครีบมีสีแดง ตัดกับสีของลำตัวทำให้มองดูสวยเด่นสะดุด ตา ในการเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามจะพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะเป็น ปลาเผือก เรียกว่า "ปลากาแดงเผือก" ได้รับความนิยมสูง และมีราคาสูงกว่า สายพันธุ์เดิม
ปลากาแดงเผือก เป็นปลาที่ได้จากการพัฒนาสายพันธุ์ หรือกลายพันธุ์เป็นเผือก เป็นปลากาแดงที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ไม่มีสีลำตัว หรือเป็น สีส้มอ่อน ทำให้มองเห็นลำตัวมีสีขาวหรือสีทอง จุดเด่นอยู่ที่ ดวงตาสีแดง ส่วนครีบต่างๆ เป็นลักษณะเช่นเดียวกับปลากาแดง
ลักษณะทั่วไป
ปลากาแดง มีลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายปลาทรงเครื่องมาก แตกต่างกันคือลำตัวค่อนข้าง ยาวเรียวกว่า เมื่อเปรียบเทียบปลาที่มีขนาดเดียวกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทา ไม่ดำเข้มเหมือนปลาทรงเครื่อง ครีบทุกครีบสีส้มอมแดง โคนหางมีจุดสีดำ รูปไข่ข้างละ 1 จุด ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 10 ซม.
การแพร่กระจายและถิ่นอาศัย
การแพร่กระจายและถิ่นอาศัยของปลากาแดง แม่น้ำในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำท่าจีน
ที่มา : อรุณี รอดลอย. (2564). 95 ชนิด ปลาสวยงามน้ำจืดไทย 95 ปี กรมประมง. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.