พุดแหลม (พุดปากเป็ด) ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ ออกดอกช่วงเดือนไหน ถิ่นอาศัย.
เนื้อหาข้อมูลพันธุ์ไม้ 'พุดแหลม'
- พุดแหลม คืออะไร
- ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
- ประโยชน์และสรรพคุณ
- ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ออกดอกเดือนไหน
- นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
- การกระจายพันธุ์
พุดแหลม คืออะไร
พุดแหลม คือพันธุ์ไม้ไทยชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชดอก (Flowering plants) หรือ Angiosperms ซึ่งเป็นกลุ่มของพืชที่มีดอก มีรังไข่ และมีส่วนที่เรียกว่าออวุล (Ovule) เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดนั้นไว้สำหรับการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดพันธุ์ต่อไป
ชื่อไทย, ชื่อพื้นเมือง (ชื่อท้องถิ่น)
พันธุ์ไม้ไทยชนิดนี้ นอกจากมีชื่อไทยว่า 'พุดแหลม' แล้วยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง (vernacular name) หรือ ชื่อท้องถิ่น (local name) ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นอีก เช่น พุดปากเป็ด เป็นต้น.
ประโยชน์และสรรพคุณ
การใช้ประโยชน์ของพุดแหลม มีศักยภาพเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีทรงพุ่ม ใบ และดอกสีขาวที่สวยงาม กลีบดอกบิดเกลียวเล็กน้อย น่ารัก ดอกมีกลิ่นหอมจางๆ
ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อสามัญ (Common name) ของ พุดแหลม ภาษาอังกฤษ ว่า Wild Kopsia.
ชื่อวิทยาศาสตร์
พุดแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Kopsia angustipetala Kerr เป็นพันธุ์ไม้ไทยในสกุล Kopsia โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae ซึ่งเป็นวงศ์พืชในอันดับ Gentianales.
ตัวอย่างต้นแบบเก็บโดยหมอคาร์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 หมายเลข Kerr 21325 โดยท่านได้นั่งเรือเลาะตามแม่น้ำโขงมาจากบริคัณฑ์ (แขวงบริคำไชย) ปากกระดิ่ง (ตรงข้ามอำเภอบุ่งคล้า บึงกาฬ) แล้วเลียบฝั่งไทยเข้าปากน้ำสงครามและท่าอุเทน ในสมัยก่อนพื้นที่แถบภูวัวในอำเภอบุ่งคล้าขึ้นกับหนองคาย ซึ่งจะเห็นได้จากการเขียนบันทึกบนตัวอย่าง สมัยนั้นหนองคายขั้นกับไชยบุรี
อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)
- อาณาจักร (Kingdom) : Plantae
- ไฟลัม (Phylum) : Streptophyta
- ชั้น (Class) : Equisetopsida
- ชั้นย่อย (Subclass) : Magnoliidae
- อันดับ (Order) : Gentianales
- วงศ์ (Family) : Apocynaceae
- สกุล (Genus) : Kopsia
- ชนิด (Species) : Kopsia angustipetala
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุดแหลม มีลักษณะวิสัยเป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 ม. ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน้ำยางสีขาวขุ่น ตามปลายกิ่ง ก้านใบ ช่อดอก และผลมีขนสั้นนุ่ม
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-3.3 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียว แหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบข้างละ 20-25 เส้น ปลายเส้นจรดกันใกล้ ขอบใบ ที่ผิวใบด้านบนมีรอยกดตามแนวเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 2-7 มม.
ช่อดอกแบบกระจุก ติดกระจุกอยู่ช่วง ปลายก้านช่อดอก ยาว 2.5-12 ซม. ออกตามปลายกิ่ง มีขนสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอก สีขาว หลอดกลีบดอกยาว 4-15 มม. ปลายแยก 5 แฉก รูปใบหอก ยาว 7.5-9 มม. ปลายแฉกเรียวแหลมและบิดคล้าย กังหัน
ผลแบบผนังชั้นในแข็ง ออกเป็นฝักคู่ รูปกรวยแหลม ยาว 1.2-2 ซม. ปลายฝักเรียวแหลมคล้ายตะขอ
ออกดอกเดือนไหน
ดอกพุดแหลม ออกดอก เดือนมกราคม - พฤษภาคม ผลแก่เดือนมีนาคม - สิงหาคม
นิเวศวิทยา ถิ่นอาศัย
ถิ่นอาศัยของต้นพุดแหลม พบขึ้นริมลำธาร หรือที่ราบใกล้ลำธารในป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-300 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของต้นพุดแหลม เป็นพืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนในส่วนของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภาคกลางจนถึงภาคใต้ของประเทศลาว