นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ นิสัย กินอะไร ถิ่นอาศัย.

เนื้อหาข้อมูล นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา คืออะไร?

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา คือสัตว์ปีกจำพวกนกชนิดหนึ่งในกลุ่มนกประจำถิ่น และนกอพยพในฤดูหนาว ซึ่งดำรงชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทย โดยมีสถานภาพทางกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทาเป็นสัตว์มีแกนสันหลังซึ่งอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โดยอยู่ในชั้นสัตว์ปีก หรือ สัตว์จำพวกนก (รวมถึง ไก่,เป็ด,ห่าน,ไก่ฟ้า) ซึ่งสัตว์จำพวกนี้เป็นสัตว์เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ หายใจโดยใช้ปอด มีจะงอยปากแข็ง ฟันลดรูป กระดูกทั่วร่างกายเป็นโพรงกลวงเบา ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบา ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีปีก 1 คู่ มีขา 1 คู่ มีรูปร่างเพรียวปกคลุมด้วยขน มีขนเป็นแผง มีเกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ทำรังวางไข่บนบก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม

อุปนิสัยและถิ่นอาศัย

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา Sturnia malabarica (ภาษาอังกฤษ Chestnut-tailed Starling)

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา; photo by เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงละหาน.

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา เป็นนกที่พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งโล่งที่ มีต้นไม้ขึ้นห่างๆ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบเป็นคู่ หรือเป็นฝูง อาจจะพบร่วมกับนกเอี้ยง และนกกินผลไม้อื่นๆ อาศัยและหากินตามกิ่งก้านของ ต้นไม้ แต่ก็อาจจะลงมายังกิ่งก้านของไม้พุ่ม และบนดินในบางโอกาส ในต้นไม้ที่ทิ้งใบและมี ดอกเต็มต้น โดยเฉพาะต้นทองหลางป่า ต้นงิ้วป่า ต้นไทร

รายละเอียดเพิ่มเติม

กินอะไรเป็นอาหาร

มักจะพบนกกิ้งโครงแกลบหัวเทา ขยันขันแข็งด้วยการกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่งเพื่อกินน้ำหวานดอกไม้นั้นในต้นผลไม้อีกหลายชนิด โดยเฉพาะไทร นกจะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้อาหารของนกกิ้งโครงแกลบหัวเทา ก็ยังกินแมลง และตัวหนอนต่างๆ อีกด้วย โดยไล่จิกตามกิ่งก้านภายในเรือนยอดที่แน่นทึบ หรือตามกิ่งไม้หรือยอดไม้ที่กำลังทิ้ง ใบ และบางครั้งก็พบโฉบจับแมลงกลางอากาศใกล้ๆกับที่เกาะ

ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อสามัญ (Common name) ของ นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา ภาษาอังกฤษ ว่า Chestnut-tailed Starling, Ashy-headed Starling, Chestnut-tailed, Malabar Starling.

ชื่อวิทยาศาสตร์

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sturnia malabarica (Gmelin, 1789) เป็นสัตว์ปีกในสกุล Sturnia โดยถูกจัดอยู่ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของนกในอันดับนกจับคอน (Passeriformes)

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Sturnus malabaricus (Gmelin, 1789)

ความหมายของชื่อ และ การค้นพบ

ชื่อชนิดเป็นคำที่ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ซึ่งพบชนิดนี้เป็นครั้งแรกคือ ชายฝั่ง ทะเลและเมือง Malabar ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่ชาวยุโรปรู้จักประเทศ อินเดีย

ทั่วโลกมีนกกิ้งโครงแกลบหัวเทา 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบชนิดย่อยเดียวคือ Sturnia malabarica subsp. nemoricola Jerdon, 1862 ชื่อชนิดย่อยเป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละติน คือ nemor,-al หรือ nemus หรือ nemoris แปลว่าป่าโปร่ง และ col,-a,-i แปลว่าอาศัยอยู่ ความหมายก็คือ "นกที่อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง" เป็นชนิดย่อยที่พบครั้งแรกในประเทศพม่า

อนุกรมวิธาน (Taxonomy)

ลักษณะทั่วไป

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา มีลักษณะเป็นนกที่มีขนาดเล็ก (20 ซม.) ตัวเต็มวัยลักษณะคล้ายกับนก กิ้งโครงแกลบปีกขาว แต่บริเวณโคนปีก และขนคลุมขนปีกด้านบนสีเทา ขนปีกด้านล่าง และ ขนคลุมขนปลายปีกสีขาว

ตะโพก และขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีเทา ปลายขนหางคู่นอก แผ่กว้างเป็นสีน้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลแดง สีข้างสีเหลืองแกมสีน้ำตาลแดง ขนส่วนอื่นๆ อาจจะมีสีน้ำตาลแดงกระจายหรือแซมอยู่ด้วยเสมอ

บางครั้งจะมีลายแถบสีขาวที่ปีกซึ่งอาจจะแตกต่างกัน ตาสีขาวถึงน้ำเงินจาง โคนปากสีน้ำเงินแกมเทา ปลายสีเหลืองสด นิ้วสีเหลือง แกมชมพู จนถึงสีน้ำตาล ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย แต่ด้านบนลำตัวจะออกเป็น สีน้ำตาลมากกว่า ขนปีกด้านล่างสีเทา

การสืบพันธุ์

การสืบพันธุ์ของนกกิ้งโครงแกลบหัวเทา ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ทำรังตามโพรงของต้นไม้ ซึ่งมักจะเป็นโพรงเก่าของนกหัวขวาน หรือนกโพระดกต่างๆ

โดยที่นกกิ้งโครงแกลบหัวเทาจะนำกิ่งไม้เล็กๆ ใบไม้ ใบหญ้า มารอง ภายในโพรง มักจะเลือกโพรงที่อยู่ในระดับสูงจากพื้นดิน 3-12 เมตร ในแต่ละรังหรือโพรงมี ไข่ 3-5 ฟอง ไข่สีเขียวแกมน้ำเงินไม่มีลายใดๆ ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 19.0 x 23.6 มม. ทั้ง สองเพศช่วยกันหาสถานที่และเสริมรัง ช่วยกันฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจายของนกกิ้งโครงแกลบหัวเทา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย และจีนตอนใต้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบในพม่า ไทย และอินโดจีน

สถานภาพ

นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา มีสถานภาพตามฤดูกาล (Seasonal status) เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หรือในฤดูหนาว พบได้บ่อยและปริมาณปานกลาง พบทั่ว ทุกภาคของประเทศ โดยพวกที่พบในภาคเหนือเป็นนกประจำถิ่น และพวกที่พบในภาคอื่นๆ เป็นนกอพยพ

มีสถานภาพทางกฎหมาย (Legal status) เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง และมีสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least concern)

ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

รายละเอียดเพิ่มเติม

โพสต์ยอดนิยมแห่งปี

สตาร์เกิลจี ช่วยอะไร อันตรายไหม ใช้ยังไง วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก.

วิธีเลี้ยงปลาออสก้า รวมกับปลาอะไรได้บ้าง อาหารปลาออสก้าชอบกินอะไร ยี่ห้อไหนดี.

น้ำยาเร่งราก บีสตาร์ท B Start ใส่ตอนไหน วิธีใช้ ประโยชน์ ดีไหม ยี่ห้อไหนดี ราคาถูก.

ตุ๊กตาหมี care bear แคร์แบร์ มีทั้งหมดกี่สี ของแท้ดูยังไง ความหมายนิสัยของแต่ละสี.

ปุ๋ยออสโมโค้ท 13-13-13 ปุ๋ยเม็ดละลายช้า ประโยชน์ช่วยอะไร วิธีใช้ ใส่ยังไง ราคาถูก.

เสื้อชั้นใน ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก รุ่นใหม่ล่าสุด Sabina Braless เสื้อใน ชุดชั้นใน ราคาถูก.

ชุดออเจ้า แม่พุดตาน "พรหมลิขิต" ชุดไทย บุพเพสันนิวาส, ชุดแม่การะเกด ชุดพุดตาล.

ลําโพงร้องคาราโอเกะ, ชุดคาราโอเกะบ้าน เครื่องเสียงคาราโอเกะ เสียงดี ยี่ห้อไหนดี.

วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง'ให้อาหารวันละกี่ครั้ง กินอะไรได้บ้าง? สูตรอาหารปลาหางนกยูง.

ปลาสอด สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่พันธุ์' อะไรบ้าง ปลาแพลทตี้ วิธีเลี้ยงยังไง? ออกลูกเป็นตัว.

มือถือและอุปกรณ์เสริม

เครื่องเสียงและลำโพง

อุปกรณ์และเครื่องมือช่าง

ระบบไฟฟ้า&ความปลอดภัย

โคมไฟและหลอดไฟ

ประตูและหน้าต่าง

ห้องครัวและอุปกรณ์ครัว

ห้องนอนและเครื่องนอน

เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน

ผลิตภัณฑ์สําหรับแม่และเด็ก

ระบบน้ำประปาและอุปกรณ์

สุขภาพและความงาม

ของใช้ภายในบ้าน

กีฬาและออกกำลังกาย

ท่องเที่ยวและการเดินทาง